DSpace Repository

ผลของการพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันของผู้ดูแล

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวิมล โรจนาวี
dc.contributor.advisor วราภรณ์ ชัยวัฒน์
dc.contributor.author พัชรพร คำภูมี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-03T02:51:46Z
dc.date.available 2022-11-03T02:51:46Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81056
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดซ้ำ เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันของผู้ดูแลภายหลังจำหน่ายเด็กจากโรงพยาบาล 1 สัปดาห์และ 2 สัปดาห์ การพยาบาลอย่างต่อเนื่องนี้พัฒนามาจากโมเด็ลความต่อเนื่องในการดูแลของ Haggerty (Haggerty, et al., 2003) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี จำนวน 56 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มเข้ากลุ่มอย่างเป็นระบบ ร่วมกับการจับคู่ด้วยระดับการศึกษาและประสบการณ์การดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันของผู้ดูแล   ข้อมูลพฤติกรรมการดูแลถูกเก็บรวบรวมโดยแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแลของ มลวิภา เสียงสุวรรณ (มลวิภา เสียงสุวรรณ, 2547) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลอย่างต่อเนื่องมีพฤติกรรมการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติหลังจำหน่ายเด็กจากโรงพยาบาล 1 สัปดาห์และ 2 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.description.abstractalternative A quasi-experimental, two groups repeated measures design was employed to study the effect of the continuity of nursing care on care behaviors of caregivers of children under the age of 5 with diarrhea on the 1st and 2nd week after discharge. The continuity of nursing care was developed based on the Haggerty’s model of continuity of care (Haggerty, et al., 2003). Fifty-six caregivers of children under the age of 5 admitted to King Narai Hospital, Lopburi province, with acute diarrhea were assigned to the experimental and control group by random assignment plus matched pair according to caregivers’ educational level and experience in caring for children with diarrhea. Caregivers’ care behaviors were collected by the childcare behaviors interview of Siengsuwan (Siengsuwan, 2004) Data were analyzed by descriptive statistics and the Repeated Measures Analysis of Variance. Results showed that caregivers of children under the age of 5 with diarrhea who received the continuity of nursing care performed better care behaviors than those receiving the conventional nursing care both on the 1st and 2nd week after discharge, at the level of statistical significance of .05
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.760
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ผลของการพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันของผู้ดูแล
dc.title.alternative The effect of the continuity of nursing care on caregivers’ care behaviors for children under five with acute diarrhea
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.760


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record