dc.contributor.advisor |
กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ |
|
dc.contributor.author |
ณัชชา ศรีพิบูลพานิช |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2022-11-03T02:55:11Z |
|
dc.date.available |
2022-11-03T02:55:11Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81069 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การถูกกีดกัน ภาวะซึมเศร้า การรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตน และความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนในคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางช่องทางออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถี จำนวน 263 คน มีอายุเฉลี่ย 27.06 ปี (SD = 6.21) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ข้อคำถามคัดกรอง 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบวัดภาวะซึมเศร้า 4) แบบวัดประสบการณ์การถูกกีดกัน 5) แบบวัดการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตน และ 6) แบบวัดความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสมการถดถอยเชิงพหุ ตามแนวคิด Conditional PROCESS Model เพื่อทดสอบอิทธิพลส่งผ่านที่มีอิทธิพลกำกับ ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์การถูกกีดกันมีอิทธิพลทางตรงต่อภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (b = .359, p < .05) แต่ไม่พบอิทธิพลทางอ้อมของประสบการณ์การถูกกีดกันต่อภาวะซึมเศร้าผ่านการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตน (b = .012, p = .101) และไม่พบอิทธิพลกำกับของความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนในความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การถูกกีดกันกับภาวะซึมเศร้า (b = -.087, p = .114) และความสัมพันธ์ระหว่างการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนกับภาวะซึมเศร้า (b = .098, p = .329) |
|
dc.description.abstractalternative |
This research aimed to examine the relationship between Discrimination, Depression, Internalized Homonegativity, and Community Connectedness in sexual minorities. Participants were 263 sexual minorities with an average age of 27.06 (SD = 6.21) who completed the online survey consisting of 1) screening questions, 2) demographic questions, 3) Center for Epidemiological Studies-Depression Scale (CES-D), 4) discrimination subscale from Daily Heterosexist Experiences Questionnaire (DHEQ), 5) Internalized Homophobia Scale (IHP), and 6) Connectedness to the LGBT Community Scale (CCS). Data obtained were analyzed using descriptive statistics, Pearson's product-moment correlation coefficient, and the conditional PROCESS model for testing moderated mediation effect. The results reveal significant direct effect of discrimination on depression (b = .087, p < .05) although no indirect effect of discrimination through internalized homonegativity on depression (b = .012, p = .101). Also, no moderating effect of community connectedness in the relationship between discrimination and depression (b = -.087, p = .114) and in the relationship between internalized homonegativity and depression (b = .098, p = .329) |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.580 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.title |
อิทธิพลของประสบการณ์การถูกกีดกันต่อภาวะซึมเศร้าในคนกลุ่มน้อยทางเพศวิถีโดยมีการรับเอามุมมองทางลบต่อการรักเพศเดียวกันมาเป็นส่วนหนึ่งของตนเป็นตัวแปรส่งผ่านและความรู้สึกเชื่อมโยงกับชุมชนเป็นตัวแปรกำกับ |
|
dc.title.alternative |
The effects of discrimination on depression in sexual minorities with internalized homonegativity as a mediator and community connectedness as a moderator |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
จิตวิทยา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.580 |
|