Abstract:
การวิจัยคเชิงคุณภาพในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฎการณ์วิทยาเชิงตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis: IPA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง (semi-structured interview) กับนักกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคม อายุระหว่าง 18-25 ปี ที่ยังคงมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างต่อเนื่อง จำนวน 6 ราย โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) แรงจูงใจให้เข้ามาเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบด้วย การปลูกฝังภายในครอบครัว การได้รับผลกระทบจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่ ความห่วงใยต่อสังคม และการรับรู้ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นที่ออกมาขับเคลื่อน 2) ปัญหาและแนวทางการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบไปด้วย ปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้นและแนวทางการจัดการกับปัญหา 3) สิ่งที่ทำให้ยังคงเป็นนักเคลื่อนไหวทางสังคม ประกอบด้วย ประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความรู้สึกทางบวก รับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคม ความหมายและคุณค่าในตนเอง และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเป็นนักเคลื่อนไหว ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มความเข้าใจในประสบการณ์ทางจิตใจที่เกิดขึ้นกับนักเคลื่อนไหวทางสังคม และเป็นแนวทางในการพัฒนาส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตให้แก่นักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ ในฐานะกลุ่มคนที่มีความตั้งใจที่จะพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น มีพลังใจในการเดินไปบนเส้นทางที่พวกเขาเลือกได้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งส่วนร่วมและการเห็นคุณค่าในตนเอง