DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างสติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์และความสามารถในการฟื้นพลังของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมบุญ จารุเกษมทวี
dc.contributor.author เตชภณ ภูพุฒ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2022-11-03T02:55:12Z
dc.date.available 2022-11-03T02:55:12Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81071
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract ความสามารถในการฟื้นพลัง คือความสามารถของบุคคลในการก้าวผ่านสภาวะทุกข์ทางใจและปรับตัวกลับเป็นปกติหลังประสบกับเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต เป็นคุณลักษณะทางจิตวิทยาเชิงบวกที่นักจิตวิทยามุ่งศึกษาเพื่อเข้าใจปัจจัยที่เอื้อต่อการเกิดความสามารถในการฟื้นพลัง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่พบการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์ และความสามารถในการฟื้นพลังในตัวบุคคล ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่าง สติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์ ที่ทำนายระดับความสามารถในการฟื้นพลังในนิสิตนักศึกษา โดยในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวน 172 คน มีอายุเฉลี่ย 21.5 ปี (SD = 1.61) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย (1) มาตรวัดสติ (Freiburg Mindfulness Inventory: FMI) (2) มาตรวัดการยอมรับ (Acceptance and Action Questionnaire) มาตรวัดความเข้าใจในไตรลักษณ์ (Mindful Insight Scale) และ 4) มาตรวัดความสามารถในการฟื้นพลัง โดยกรมสุขภาพจิต ผลการวิจัยสรุปได้ว่าสติ การยอมรับ และความเข้าใจในไตรลักษณ์ ต่างมีสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความสามารถในการฟื้นพลัง และ สติ การยอมรับและความเข้าใจในไตรลักษณ์ร่วมกันทำนายระดับความสามารถในการฟื้นพลังในตัวบุคคลได้ที่ R2 = .433 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ โดยองค์ความรู้ที่ได้รับสามารถต่อยอดเป็นแนวทางสำหรับพัฒนาเครื่องมือหรือโปรแกรมกลุ่มเพื่อพัฒนาระดับความสามารถในการฟื้นพลังในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีในโอกาสต่อไป อนึ่งผลการวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์ ที่ทำนายระดับความสามารถในการฟื้นพลังในนิสิตนักศึกษา ดังนั้นการอ้างอิงไปสู่กลุ่มประชากรอื่นที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน พึงทำด้วยความระมัดระวัง
dc.description.abstractalternative Resilience is defined as a person’s ability to surpass and overcome psychological suffering following a stressful life event in order to resume and maintain functionality in everyday life. Though resilience has become more popular as a research topic among those in the field of positive psychology, there is currently a lack of studies that delve into the relationships between mindfulness, acceptance, the three characteristics of existence, and resilience. Therefore, this study aims to explore the relationships between mindfulness, acceptance, and the three characteristics of existence, and the degree to which they are able to predict the level of resilience in students at the undergraduate level. Data were collected from 172 undergraduate students with a mean age of 21.5 (SD=1.61). The Freiburg Mindfulness Inventory, Acceptance and Action Questionnaire, Mindfulness Insight Scale, and Resilience Quotient were used to determine the traits of interest in each participant. The findings revealed: 1) a significant positive correlation between mindfulness and resilience 2) a significant positive correlation between acceptance and resilience 3) a significant positive correlation between the three characteristics of existence and resilience and 4) mindfulness, acceptance, and the three Characteristics of existence have a significant predictive effect on a person’s level of resilience (R2 = .433).
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.573
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างสติ การยอมรับ ความเข้าใจในไตรลักษณ์และความสามารถในการฟื้นพลังของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
dc.title.alternative Relationships among mindfulness, acceptance, understanding of the three characteristics of existence and resilience in undergrates
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.573


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record