DSpace Repository

การศึกษาความเป็นไปได้เชิงธุรกิจในการพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์สีประจำตัวบนอุปกรณ์สื่อสารชนิดพกพาเพื่อจับคู่สินค้าที่เหมาะสมสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทรสินี ภัทรโกศล
dc.contributor.author อันศ์ญา สิระอนันต์กุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2022-11-03T03:08:02Z
dc.date.available 2022-11-03T03:08:02Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81108
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การศึกษานี้พัฒนาแอปพลิเคชันตรวจวิเคราะห์สีประจำตัวจากอุปกรณ์สื่อสารชนิดพกพาและจับคู่เครื่องสำอางที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยใช้การวิเคราะห์ภาพถ่ายสีผิว สีผม และสีตาของผู้ใช้ เพื่อคำนวณและจัดหมวดหมู่สีประจำตัวโดยอัตโนมัติกว่า 20 โทนสี ใน 4 ฤดูกาล แทนการใช้วิธีการวิเคราะห์แบบดั้งเดิมที่ใช้ผ้าเป็นอุปกรณ์ในการวิเคราะห์ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านสี รวมถึงมีการแต่งหน้าเสมือนจริงตามโทนสีประจำตัวที่วิเคราะห์ได้ โดยการซ้อนทับบนภาพถ่ายของผู้ใช้เพื่อแนะนำแนวทางสำหรับการตกแต่งใบหน้า แอปพลิเคชันใช้งานง่ายพร้อมทั้งช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก และคาดหวังว่าจะสามารถช่วยให้การซื้อขายเครื่องสำอางออนไลน์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วิจัยนี้ได้กล่าวถึงการสํารวจและวิเคราะห์พฤติกรรม รวมถึงความต้องการในการใช้แอปพลิเคชันของกลุ่มตัวอย่าง 2 ส่วน ได้แก่ ผู้ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์สีประจำตัวและแนะแนวทางการแต่งหน้าเพื่อเลือกซื้อเครื่องสำอางออนไลน์และผู้จำหน่ายเครื่องสำอาง จํานวนทั้งสิ้น 180 คน โดยทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้ให้ความสนใจในการใช้แอปพลิเคชันตรวจวิเคราะห์สีประจำตัวเพื่อซื้อขายเครื่องสำอางผ่านทางช่องทางออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 70.40 และ 53.80 ตามลําดับ
dc.description.abstractalternative This study developed a mobile application for personal colour analysis and matching each individual's makeup. Utilizing a photo of the user's complexion, hair, and eye color. Instead of utilising standard fabric-based analysis through colour specialists to automatically match and categorise personal colour across more than 20 colour tones across 4 seasons, as a recommendation for makeup guidelines, include virtual makeup according to the personal colour scheme by overlaying it on the user's photograph. The application is easy to use and saves both time and money. This study is anticipated to improve the selling of cosmetics through online platforms. This article will explore the behaviour and desires of clients and cosmetic shops for the application platform. surveyed 185 subjects, including clients and cosmetic shops. 70.40% of customers and 53.80% of cosmetic shops were interested in the platform.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.293
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Business
dc.subject.classification Computer Science
dc.title การศึกษาความเป็นไปได้เชิงธุรกิจในการพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์สีประจำตัวบนอุปกรณ์สื่อสารชนิดพกพาเพื่อจับคู่สินค้าที่เหมาะสมสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
dc.title.alternative Feasibility study to development of personal colour matching application platform for e-commerce
dc.type Independent Study
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.293


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record