DSpace Repository

การศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มสารสกัดจากขมิ้นชัน ด้วยวิธีเอนแคปซูเลชันโดยใช้กลูโคแมนแนน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล
dc.contributor.author อชิรญาณ์ หิรัญรัตนชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2022-11-03T03:08:05Z
dc.date.available 2022-11-03T03:08:05Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81114
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มสารสกัดจากขมิ้นชันด้วยวิธีเอนแคปซูเลชันโดยใช้กลูโคแมนแนน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น  ผู้วิจัยเห็นโอกาสในการตอบสนองความต้องการดังกล่าว รวมถึงความสนใจในการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทยด้วยเทคโนโลยี จึงนำงานวิจัยดังกล่าวมาศึกษาเพื่อออกแบบกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint analysis) ในการวิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing mix) ได้แก่ แนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product), ราคา (Price), ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) และกิจกรรมส่งเสริมการขาย (Promotion) จากการสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน ผลการศึกษาพบว่ากลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว คือ ผลิตภัณฑ์นมผสมสารสกัดจากขมิ้นชันที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เพื่อการชะลอวัยและลดการอักเสบที่ผิวหนัง ด้วยเทคโนโลยีไมโครเอนแคปซูเลชันเพิ่มการดูดซึมสารสกัดจากขมิ้นชันเพื่อประสิทธิภาพที่ดีกว่า มีจำหน่ายในร้านค้าชั้นนำและทางออนไลน์ ในราคา 25 บาท ขนาด 180 มิลลิลิตร  ด้านการศึกษาความเป็นไปได้ในทางการเงิน ของธุรกิจในการผลิตผลิตภัณฑ์นมผสมสารสกัดจากขมิ้นชันด้วยการจ้างผลิต (OEM) โดยมีเงินลงทุนเริ่มต้น 1,590,000 บาท พบว่าในกรณีปกติ (Base case) ที่ผลิตภัณฑ์ถูกจำหน่ายในราคา 25 บาท ธุรกิจมีผลตอบแทนโดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของธุรกิจ (NPV) เป็นบวก เท่ากับ 783,980 บาท มีอัตราผลตอบแทนภายในที่มีค่ามากกว่าต้นทุนทางการเงิน (IRR) เท่ากับ 26% และมีระยะเวลาคืนทุนของธุรกิจ (Payback period) เท่ากับ 2.91 ปี จึงสรุปได้ว่าผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มสารสกัดจากขมิ้นชันด้วยวิธีเอนแคปซูเลชันโดยใช้กลูโคแมนแนนมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์
dc.description.abstractalternative People around the world have been facing urgent health issues from the COVID-19 pandemic that influences people to raise health awareness. Also, this situation becomes an opportunity for herbal products. Hence, to serve the consumer health trends as well as value-added herbal products, this study aims to study commercial feasibility of encapsulated curcumin in milk product by identifying proper marketing strategy. This study applied conjoint analysis which can verify overall marketing mix aspects. Collect the data for 100 respondents. According to the result, the most preferable market strategy is ready to drink milk added curcumin extract to provide antioxidant benefit to promote anti-ageing and reduce skin inflammation with microencapsulation technology to increase curcumin extract absorption for highly efficacy selling in offline and online channels for 25 baht. Per 180 ml.  In term of financial feasibiity study, Innitial investment at 1,590,000 baht. It was found that in the narmal case (Base case), The business yields return on the net present value (NPV) showed positive value of 783,980 baht., Where internal reture rate(IRR) was greater than the business financial cost at 26% and payback period at 2.91 years. Hence, The product "ready to drink milk added curcumin extract with microencapslation technology" has a potential of commercialization. 
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.295
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Agricultural and Biological Sciences
dc.subject.classification Agricultural and Biological Sciences
dc.title การศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ของผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มสารสกัดจากขมิ้นชัน ด้วยวิธีเอนแคปซูเลชันโดยใช้กลูโคแมนแนน
dc.title.alternative Commercial feasibility study of encapsulated curcumin by glucomanan in milk product
dc.type Independent Study
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.295


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record