Abstract:
ภายใต้สถานการณ์ Digital Disruption การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มีส่วนทำให้องค์กรอยู่รอดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นตัวอย่างรัฐวิสาหกิจไทยที่ต้องปรับตัว โดยทัศนคติของผู้บริหารระดับต้นถือมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามหลักวินัย 5 ประการของPeter Senge
ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่าผู้บริหารระดับต้นของ รฟม. มีทัศนคติต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับที่สูงมาก ปัจจัยองค์กร ได้แก่ ผู้นำองค์กร วัฒนธรรมองค์กร การจัดการความรู้ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่ามีความสัมพันธ์ต่อระดับทัศนคติของผู้บริหารระดับต้นของ รฟม. ต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง ได้สะท้อนว่าผู้นำมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix ได้พบกลยุทธ์แนวทางการพัฒนา รฟม. ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 8 ข้อ ได้แก่ (1) ส่งเสริมทักษะทางด้านเทคโนโลยีแก่บุคลากร (2) ส่งเสริมการถ่ายทอดและถ่ายโอนงานด้านวิศวกรรมระบบรางจากภาคเอกชน (3) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรองรับความเสี่ยงในการทำงาน (4) ผู้บริหารองค์กรต้องสื่อสารและสร้างความเข้าใจทิศทางการพัฒนาขององค์กร (5) ส่งเสริมการทำงานเชิงบูรณาการ (6) พัฒนาระบบการจัดการความรู้ขององค์กร (7) การทำงานเป็น Agile Organization และ (8) จัดตั้ง Intelligent Unit ด้านพัฒนาธุรกิจและด้านวิศวกรรมระบบราง