Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลการนำนโยบายชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีไปปฏิบัติ รวมทั้ง ปัญหา อุปสรรค จากการดำเนินโครงการ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และวิธีการสุ่มตัวอย่าง จากผู้ให้ข้อมูลในพื้นที่ จำนวน 3 กลุ่ม 26 ราย ทำการตรวจสอบด้วยวิธีการสามเส้า (Triangulation) จากการศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่าผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พบว่าผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้ ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวภายในชุมชน ด้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนา พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น มากขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่ได้ดำเนินโครงการ อีกทั้งด้านผลกระทบทางสังคม และสิ่งแวดล้อมนั้น พบว่าในด้านผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนในชุมชนนั้น ไม่มีปัญหาใดๆ แต่ด้านผลกระทบ ทางสิ่งแวดล้อมนั้นพอมีอยู่บ้าง แต่สามารถควบคุมและแก้ไขได้ ไม่ก่อผลกระทบที่รุนแรงกับชุมชน ในการดำเนินงานของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เช่น สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันยังไม่ดี ทำให้ประชาชนลดการใช้จ่าย มีการใช้จ่ายอย่างประหยัดทำให้การกระจายรายได้สู่ชุมชนยังไม่เต็มที่เท่าที่จะควร ปัญหาการขาดการให้ความช่วยเหลือจากผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาความร่วมมือของคนภายในชุมชน และปัญหาการขาดการประชาสัมพันธ์หมู่บ้านท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักอย่างทั่วถึงในวงกว้าง และข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ได้แก่ ทางราชการควรมีงบประมาณในการต่อยอดการดำเนินโครงการฯ เพิ่มเติม เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างร้านค้า ตลาดชุมชนให้มีความมั่นคงแข็งแรง การประชาสัมพันธ์หมู่บ้านให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น การสนับสนุนให้หน่วยงานราชการต่างๆ ไปศึกษาดูงานชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี การส่งเสริมความร่วมมือทั้งหน่วยงานราชการท้องถิ่น ท้องที่ และชาวบ้านในพื้นที่ให้ร่วมมือกันทำงานด้วยกันทุกฝ่าย