Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดสรรบุคลากรของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการทำงานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID 19) ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า
1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
2) ปัจจัยด้านการทำงานที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านลักษณะงาน ด้านเทคโนโลยี และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
3) ผลการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพทำให้ทราบถึงการจัดแผนการดำเนินงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID 19) และแนวทาง ข้อเสนอแนะในการปรับรูปแบบการบริหารจัดการ การบริหารทรัพยากรบุคคล การเตรียมความพร้อม และการวางแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคตของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย