dc.contributor.advisor |
วันชัย มีชาติ |
|
dc.contributor.author |
อรพรรณ สุวรรณวัฒนกุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-11-03T03:13:26Z |
|
dc.date.available |
2022-11-03T03:13:26Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81189 |
|
dc.description |
สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
สารนิพนธ์ชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่า ภารกิจของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสังคมและประชาธิปไตยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นอย่างไร และมีอิทธิพลต่อกระบวนการในการบริหารองค์การอย่างไร โดยมีมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ เป็นกรณีศึกษา รวมทั้งตอบคำถามว่า กระบวนการในการบริหารของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประกอบด้วยขั้นตอนใดบ้าง โดยศึกษาเจาะลงไปที่มูลนิธิฯ ในประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยได้ทบทวนแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับองค์การพัฒนาเอกชน และกระบวนการในการบริหารองค์การ ตลอดจนองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของประเทศเยอรมนี ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารรายงานการดำเนินงานประจำปีของมูลนิธิฯ บทความประชาสัมพันธ์เผยแพร่กิจกรรม รายละเอียดโครงการความร่วมมือ รายงานสรุปการดำเนินโครงการ รวมทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานในมูลนิธิฯ จากการศึกษา ได้ข้อค้นพบว่า ภารกิจของมูลนิธิฯ เกี่ยวโยงกับภูมิหลังที่มาที่ไปตามประวัติศาสตร์ของประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งผลให้วิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การมุ่งส่งเสริมการพัฒนาสังคมในมิติต่าง ๆ และเสริมสร้างความมั่นคงของประชาธิปไตย ผ่านการให้การสนับสนุนองค์การในความร่วมมือทั่วโลก วิสัยทัศน์และพันธกิจนั้นเชื่อมโยงไปยังวัตถุประสงค์และประเด็นการดำเนินงานของมูลนิธิฯ รวมทั้งการวางกรอบนโยบายการทำงานที่เป็นขั้นตอน และการวางองค์ประกอบการทำงานภายในมูลนิธิฯ เพื่อการปฏิบัติงานที่คล่องตัว ในส่วนของกระบวนการในการบริหารงานมูลนิธิฯ ที่ปฏิบัติงานในประเทศไทยนั้น มีการประเมินสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อนำเอาผลมาพิจารณาวางแผนยุทธศาสตร์การทำงาน ซึ่งมีทั้งระยะยาว 3 ปี ระยะกลาง 1 ปี และระยะสั้นภายในระยะเวลา 1 ปี องค์ประกอบองค์การมีตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานในสายงานหลักและสายงานสนับสนุนที่มีหน้าที่รับผิดชอบของตนชัดเจน มีลำดับขั้นบังคับบัญชาน้อยมากและไม่ซับซ้อน การควบคุมผลการดำเนินงานเน้นการควบคุมให้มีการติดตามและประเมินผลโครงการที่ชัดเจน การรายงานการใช้จ่ายงบประมาณที่รวดเร็วโปร่งใส ท้ายสุด ในการวัดประสิทธิผลองค์การ มูลนิธิฯ วัดโดยยึดที่ความสามารถในการบรรลุเป้าหมาย และวัดที่ความพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของมูลนิธิฯ |
|
dc.description.abstractalternative |
This independent study aims to explore the background of the German Foundations’ mission and its influence on the management process, with the Konrad Adenauer Foundation, or the KAS, as a case study. It also aims to research about the details of the management process inside the KAS with a focus on the Thailand Office. The theories about organisation management process and non-governmental organisations as well as related historical facts of Germany were reviewed. The research methodology is qualitative: analysis of the information collected from the annual reports, promotional articles about the Foundation, project proposals and reports as well as participatory observation and in-depth interviews of the Foundation’s operating staffs. The study found the following answers. First, the mission of the KAS relates to Germany’s historical background since the time during and after the Second World War. It causes the Foundation to focus on developing the society in many aspects and strengthening democracy through cooperation with partner organisations worldwide. Vision and mission have crafted the strategic objectives, themes, working policy, and organisational structure to meet the Foundation’s goals. Second, the management process of the Foundation operating in Thailand consists of the following stages. It starts with evaluating the internal and external organisational environments. Then, it leads to setting up the strategic plan that spans from one to three years and to placing the operating staffs in leading and supporting positions with evident responsibilities and flat chain of command. Upon the later stages is controlling the monitoring and evaluation of the project work as well as the quick and transparent financial report. Last, the KAS has applied the goal-attainment approach and the stakeholder approach when measuring its work effectiveness. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.376 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Social Sciences |
|
dc.title |
ภารกิจและการบริหารมูลนิธิเพื่อการพัฒนาสังคมและประชาธิปไตยแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี : กรณีศึกษา มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ |
|
dc.title.alternative |
Mission and management process of the German foundationfor development of society and democracy : a case study of the Konrad Adenauer Foundation |
|
dc.type |
Independent Study |
|
dc.degree.name |
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
รัฐประศาสนศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.IS.2021.376 |
|