DSpace Repository

แนวทางการเรียกคืนทรัพย์สินตามหลักลาภมิควรได้ : ศึกษากรณีการคืนภาษีอากร

Show simple item record

dc.contributor.advisor สนธิศาสตร์ เจตน์วราพงศ์
dc.contributor.author พรชนก ศิริสร้างสุข
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-21T02:41:15Z
dc.date.available 2022-11-21T02:41:15Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81301
dc.description เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 en_US
dc.description.abstract บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายและหากได้ชําระค่าภาษีอากรไปแล้ว ต่อมาพบว่าตนนั้น ได้ชําระภาษีเกินไปกว่าที่ตนจะต้องเสีย หรือเมื่อชําระภาษีไปแล้วภายหลังพบว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ภาษี กฎหมายก็กําหนดให้มีการคืนภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษี ซึ่งการ ที่รัฐจะดําเนินการเก็บภาษีได้นั้นจะต้องมีบทบัญญัติกําหนดไว้ชัดแจ้งให้มีอํานาจกระทําได้ดังที่กล่าว ข้างต้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติให้รัฐนําเงินที่ผู้เสียภาษีชําระไว้เกินหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีไปใช้จ่ายใน การบริหารประเทศได้ ดังนั้นรัฐจึงต้องคืนเงินค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่ผู้เสียภาษี อย่างไรก็ตามบทบัญญัติกฎหมายภาษีอากรนั้นยังไม่ครอบคลุมและไม่สามารถนํามาปรับใช้ได้ ในทุกๆกรณี ทําให้ต้องมีการตีความกฎหมายซึ่งโดยหลักแล้วการตีความกฎหมายนั้นจะต้องตีความ โดยเคร่งครัด และหากตัวบทกฎหมายนั้นไม่ชัดเจน สามารถตีความได้หลายนัย ก็จะต้องตีความไป ในทางที่เป็นคุณหรือประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี แต่ก็มีบางกรณีที่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีหลายๆคดีนั้น มีข้อเท็จจริงคล้ายคลึงกันแต่มีการตีความและนําหลักกฎหมายมาปรับใช้แตกต่างกัน เช่น นําหลัก กฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาปรับใช้ การปรับใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 193/31 และนําหลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิติดตามเอาคืนมาปรับใช้ ทําให้เกิดความ สับสนในการปรับใช้กฎหมายว่าการตีความกฎหมายอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุดและเป็นคุณหรือ ประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี โดยเฉพาะบทบัญญัติในเรื่องการคืนภาษีอากร เนื่องจากตามประมวลรัษฎากรนั้นไม่ได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนว่าหากเกิดกรณีที่รัฐคืนภาษี อากรให้กับเอกชนไปโดยผิดพลาดแล้วจะต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไร จึงทําให้ต้องมีการตีความและ ปรับปรุงกฎหมายโดยนําหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาในกรณีดังกล่าว en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.178
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การชำระภาษี en_US
dc.subject ผู้เสียภาษี en_US
dc.title แนวทางการเรียกคืนทรัพย์สินตามหลักลาภมิควรได้ : ศึกษากรณีการคืนภาษีอากร en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายการเงินและภาษีอากร en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject.keyword การคืนภาษี en_US
dc.subject.keyword การเสียภาษี en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2019.178


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record