DSpace Repository

ปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับ สถาบันการเงิน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สิริกัญญา โฆวิไลกูล
dc.contributor.author ธนา พันธุมะบำรุง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-12-01T06:57:11Z
dc.date.available 2022-12-01T06:57:11Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81339
dc.description เอกัตศึกษา น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 en_US
dc.description.abstract เอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน ซึ่งมีปัญหาทางกฎหมายอันเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอันได้แก่ (1) ปัญหาการก่อภาระผูกพันในอสังหาริมทรัพย์ ทั้งก่อนการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิและภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิ มาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ (2) ปัญหาสถานะทางกฎหมายของทรัพย์อิงสิทธิ (3) ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกัน อันได้แก่ การบอกเลิกสัญญาโอนทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิก่อนครบกำหนดเวลา และบทบัญญัติของตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ไม่คุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกันในบางกรณี และ (4) ปัญหาการบังคับคดีกับทรัพย์อิงสิทธิ เอกัตศึกษานี้ดำเนินการโดยศึกษากฎหมายการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุกิจ พ.ศ. 2558 ของประเทศไทย และนำไปศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายการประกันการชำระหนี้ของต่างประเทศ ได้แก่ ระบบหลักประกันแบบ Uniform Commercial Code Article 9 ตามหลักกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และในระบบหลักประกันแบบ Floating Charge ตามหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษทำการวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การวิจัยนี้พบว่า การนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงินนั้น ตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดลักษณะเฉพาะของทรัพย์อิงสิทธิไว้ ซึ่งบทบัญญัติในบางมาตรายังเป็นอุปสรรคในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน อีกทั้งตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของทรัพย์อิงสิทธิ ในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ เอกัตศึกษานี้จึงเสนอให้ (1) การก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระผูกผันและการก่อภาระผูกพันในอสังหาริมทรัพย์ภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทงธุรกิจต้องได้รับความยินยอม (2) กำหนดสถานะทางกฎหมายของทรัพย์อิงสิทธิให้เป็นหลักประกันทางธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ (3) การบอกเลิกสัญญาโอนทรัพย์อิงสิทธิและการยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิก่อนครบกำหนดเวลาภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจต้องได้รับความยินยอมจากสถาบันการเงิน และแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกันในกรณีผู้ให้หลักประกันกระทำการโดยทุจริตจนเป็นเหตุให้ผู้รับหลักประกันไม่อาจบังคับหลักประกันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนและ (4)กำหนดหลักเกณฑ์การบังคับคดีกับทรัพย์อิงสิทธิให้สามารถนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 334 และหมวด 4 บังคับโดยอนุโลม เพื่อให้สถาบันการเงินมีความเชื่อมั่นในการรับทรัพย์อิงสิทธิเป็นหลักประกันทางธุรกิจ อันส่งผลให้นักลงทุนหรือผ็ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และเพื่อให้บรรลุเจตนรมณ์ของกฏหมายที่ต้องการให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.190
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ทรัพย์สิน en_US
dc.subject หลักประกัน en_US
dc.title ปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับ สถาบันการเงิน en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายการเงินและภาษีอากร en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject.keyword ทรัพย์อิงสิทธิ en_US
dc.subject.keyword กฎหมายการประกัน en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.190


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record