Abstract:
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การผลิตสุกรในประเทศไทยกลายเป็นอุตสาหกรรมและจำนวนของลูกสุกรต่อ ครอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จใน “อุตสาหกรรมฟาร์มสุกร” คือ การจัดการการคลอดที่เหมาะสม โดยปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการการคลอด ประกอบด้วย การจัดการกระบวนการคลอดของแม่สุกรอย่างเหมาะสม การช่วยเหลือแม่สุกรที่ต้องการความ ช่วยเหลือ และ การย้ายฝากลูกสุกรอย่างเหมาะสม แนวทางการจัดการเหล่านี้ได้รับความสนใจมากขึ้นในวงการ วิจัยสุกร เนื่องจากจำนวนลูกสุกรที่มีชีวิตต่อครอกเพิ่มขึ้นในกลุ่มแม่สุกรสายพันธุ์สมัยใหม่ “น้ำนมเหลือง” เป็น สิ่งคัดหลั่งสิ่งแรกที่ถูกผลิตออกมาจากต่อมสร้างน้ำนม และมีการหลั่งอย่างต่อเนื่องในช่วงคลอดนานถึง 12-24 ชั่วโมง ก่อนที่การหลั่งจะเปลี่ยนเป็นวงจรและต้องใช้การดูดของลูกสุกรเป็นตัวกระตุ้น น้ำนมเหลืองเป็นแหล่ง อาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ย่อยง่ายและมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ เช่น อิมมูโนโกลบูลลิน เอนไซม์ ไฮโดรไลติก ฮอร์โมน และปัจจัยที่ช่วยในการเจริญเติบโต ดังนั้นน้ำนมเหลืองจึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุม อุณหภูมิร่างกายลูกสุกร การส่งต่อภูมิคุ้มกันถ่ายทอด และการพัฒนาของลำไส้ของลูกสุกร น้ำนมเหลืองเป็น แหล่งพลังงาน ที่สามารถเผาผลาญได้สูงในลูกสุกรแรกคลอด และมีปริมาณไขมันและแลคโต๊สสูง เพื่อให้ลูกสุกร สามารถรับมือกับความเครียดจากความหนาวเย็นได้ โดยการเพิ่มอัตราการเผาผลาญและรักษาสมดุลของ ร่างกายในวันแรกหลังคลอด อุณหภูมิทางทวารหนักของลูกสุกรที่ 24 ชั่วโมง หลังคลอดมีความสัมพันธ์ในเชิง บวกกับปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรได้รับ และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับระยะเวลาตั้งแต่คลอดจนกระทั่งลูก สุกรสามารถดูดนมได้ครั้งแรก โปรตีนในน้ำนมเหลือง ประกอบด้วย อิมมูโนโกลบูลลิน ได้แก่ อิมมูโนโกลบูลลิน จี (IgG) อิมมูโนโกลบูลลินเอ็ม (IgM) และ อิมมูโนโกลบูลลินเอ (IgA) IgG เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบมาก ที่สุดในน้ำนมเหลืองและมีความเข้มข้นสูงที่สุดในช่วงหลังคลอดไม่กี่ชั่วโมงแรกและลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ลูกสุกรแรกคลอดจำเป็นต้องได้รับภูมิคุ้มกันถ่ายทอดจากการกิน IgG ในน้ำนมเหลือง เพื่อลดความไว ต่อการติดเชื้อหลังคลอดและหลังหย่านม การดูดซึม IgG ในลูกสุกรแรกคลอดจะต้องเกิดขึ้นเกิดขึ้นก่อนที่ กระบวนการการดูดซึมโปรตีนในลำไส้จะสิ้นสุดลง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกสุกรมีอายุประมาณ 24 ชั่วโมง ความเข้มข้น ของ IgG ในพลาสมาของลูกสุกรที่อายุ 24 ชั่วโมง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณน้ำนมเหลืองที่ลูกสุกรได้รับ การเสริมน้ำนมเหลือง ให้แก่ลูกสุกรที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ ตัวละ 15 มิลลิลิตร สามารถเพิ่มความเข้มข้นของ IgG ในพลาสมาของลูกสุกรที่อายุ 4 วัน ได้ น้ำนมเหลืองของสุกรยังประกอบด้วยสารที่ช่วยในเจริญเติบโต (growth factor) ที่แตกต่างกัน เช่น insulin-like growth factor (IGF) I และ II epidermal growth factor insulin และ transforming growth factor-beta ส่วนประกอบที่ช่วยในการเจริญเติบโตที่ผ่านมาทางน้ำนม เหลือง เป็นกลไกในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของและพัฒนาการทำงานของเนื้อเยื่อระบบทางเดินอาหารของ ลูกสุกร นอกจากนี้น้ำนมเหลืองยังช่วยเพิ่มการดูดซึมในลำไส้ การเริ่มต้นของการปิดตัวของลำไส้ และช่วยใน การซ่อมแซมผิวเยื่อเมือกที่เสียหายอีกด้วย ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงของ ระบบทางเดินอาหารในช่วงหลังคลอด