Abstract:
การศึกษานี้มุ่งเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องตัดผ้าใบประกอบยางเครื่องบิน ซึ่งทำการศึกษาการจัดวิธีการทำงานโดยใช้ Single Minute Exchange of Die method (SMED) และศึกษาการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานของชุด splicer โดยประยุกต์ใช้ Design of Experiment (DOE). เพื่อที่จะลดเวลาสูญเสียที่เกิดการรอคอยของเครื่องจักรและการรอคอยของพนักงาน โดยการปรับปรุงมี 3 ส่วนหลัก คือ การศึกษาการตั้งเครื่องจักรภายในและการตั้งเครื่องจักรภายนอก มีการเพิ่มพนักงาน 1 คนต่อกะ มาทำงานในตำแหน่งพนักงานตั้งค่าเครื่องจักรภายนอก เพื่อให้เครื่องตัดผ้าใบประกอบยางเครื่องบินมีเวลาสูญเสียในการหยุดเครื่องจักรที่น้อยที่สุด และลดมูลค่าการเสียโอกาสในกรณีที่ไม่สามารถผลิตยางได้ตามความต้องการของลูกค้าได้ การศึกษาหาค่าที่เหมาะสมที่สุดในการตั้งค่าพารามิเตอร์ของชุด splicer และการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร ข้อมูลหลังการปรับปรุงเครื่องตัดผ้าใบประกอบยางเครื่องบินจากเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561 พบว่าผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 23 ม้วนต่อกะ เป็น 28 ม้วนต่อกะ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องตัดผ้าใบประกอบยางเครื่องบินเพิ่มสูงขึ้นด้วย จาก 81.3% เป็น 85.4 % และลดมูลค่าความเสียโอกาสในกรณีที่ไม่สามารถผลิตตามความต้องการของลูกค้าได้ถึง 36.4 ล้านบาทต่อปี