DSpace Repository

การศึกษาการออกแบบพื้นวางบนดินที่สร้างจากคอนกรีตเสริมเส้นใยโพลิโพรพิลีน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิทิต ปานสุข
dc.contributor.author สิริพงศ์ เกิดบุญมา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-02-03T04:00:29Z
dc.date.available 2023-02-03T04:00:29Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81519
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การศึกษาพฤติกรรมการรับแรงดัดของคอนกรีตเสริมเส้นใยโพลิโพรพิลีนเป็นการศึกษาจากการทดสอบการดัดคานตัวอย่างที่มีสัดส่วนผสมที่มีคุณสมับติต่างๆกันทั้งหมด 10 กลุ่มตัวอย่าง โดยมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันคือ กำลังอัดคอนกรีตที่ใช้โดยใช้ค่า 28 และ 32 เมกะปาสคาล กำลังรับแรงดึงประลัยของเส้นใยโดยใช้ค่า 520 และ 640 ปาสคาล อัตราส่วนผสมเพิ่มของเส้นใยโพลิโพรพิลีนที่มีค่าต่างกันคือ 0, 2 และ 3 กิโลกรัม โดยผลการศึกษาพบว่าการเพิ่มขึ้นของกำลังอัดคอนกรีตไม่ส่งผลต่อกำลังรับแรงดัดหลังการแตกร้าว กำลังรับแรงดึงประลัยของเส้นใยและอัตราส่วนส่งผลโดยตรงกับความสามารถในการต้านแรงดัดหลังการแตกร้าวของคานซึ่งบ่งบอกถึงความเหนียวของคอนกรีตเสริมเส้นใย และสำหรับการเปรียบเทียบหลักการออกแบบพื้นวางบนดินที่ใช้คอนกรีตเส้นเส้นใย ผู้ศึกษาพบว่ากำลังรับน้ำหนักสูงสุดที่คำนวณได้จากหลักการออกแบบตามแนวทางของรายงานเชิงวิชาการ TR34 มีค่าสูงกว่าค่าที่ได้จากการคำนวณตามแนวทางการออกแบบของมาตรฐาน ACI 360R ทั้งนี้เนื่องจากผลต่างของสัมประสิทธิ์ในสมการออกแบบที่ต่างกัน และสำหรับการรวบรวมค่าคุณสมบัติของดินภายในประเทศจากงานวิจัยในอดีตพบว่าค่าโมดูลัสต้านการกดของดินในประเทศมีค่าตั้งแต่ 0.024 ถึง 0.157 เมกะปาสคาลต่อมิลลิเมตร
dc.description.abstractalternative Behavior study in bending moment of polypropylene reinforced concrete is a study of experiment that proceeded by bending 10 different proportion of composite sample beams. which are two differences of concrete's strength value (28,32 MPa) , three differences of ultimate tensile strength's fiber (520,640 Pa) , three differences in proportion of polypropylene fiber (0 2 3 kg). From the result of study, the increasing compressive strength have no effect on post cracking strength of bending moment, the ultimate tensile strength and proportion of fiber are directly effect to post cracking bending moment capacity which indicate to fiber reinforced concrete toughness. From comparation of the maximum load capacity between TR34 method and ACI 360R method, shows that TR34 has higher value than ACI 360R. Also the difference of equation's factor. The research of soil properties in Thailand found that the K-value are vary 0.024 to 0.157 MPa/mm
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.839
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title การศึกษาการออกแบบพื้นวางบนดินที่สร้างจากคอนกรีตเสริมเส้นใยโพลิโพรพิลีน
dc.title.alternative Study on design of slab on ground with polypropylene fiber reinforced concrete
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมโยธา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.839


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record