dc.contributor.advisor |
อภินันท์ สุทธิธารธวัช |
|
dc.contributor.author |
จิดาภา เฟื่องฟู |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-02-03T04:00:29Z |
|
dc.date.available |
2023-02-03T04:00:29Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81520 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
ผลิตภัณฑ์ประเภทโฟมล้างหน้า ผลิตผ่านปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชันระหว่างกรดลอริกและโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลึกโพแทสเซียมลอเรต โดยทำปฏิกริยาที่อุณหภูมิ 90ºC เป็นเวลา 60 นาทีและเก็บตัวอย่างตามเวลา 0, 10, 20, 30, 40, 50 และ 60 นาที พบว่าค่าการเปลี่ยนมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่เวลา 60 นาที ค่าการเปลี่ยนอยู่ที่ 94.77% โดยเวลาไม่มีผลต่อการเกิดปฏิกริยา สำหรับการศึกษาผลของอัตราการทำให้เย็นตัวลงที่มีผลต่อการเกิดผลึกของโพแทสเซียมลอเรตพบว่าการผลิตโฟมล้างหน้าควรใช้อัตราทำให้เย็นตัวลงที่ 1-2 ºC/นาที เพื่อให้ได้ผลึกที่เรียงตัวอย่างสวยงาม เนื้อผลิตภัณฑ์มีความมันวาว และเป็นอัตราการควบคุมที่เหมาะสมในการทำให้ผลิตภัณฑ์เย็นตัวลงและเกิดการตกผลึกที่สมบูรณ์ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณของโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเนื้อผลิตภัณฑ์และการเกิดประกายมุกในเนื้อผลิตภัณฑ์พบว่า KOH 7%, KOH 15% ได้ลักษณะเนื้อที่แข็งร่วน เป็นเจลทึบแสง เกิดประกายมุกชัดเจนในทันที ดังนั้นการลดปริมาณโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์อาจทำให้เหลือปริมาณสารตั้งต้นที่ใช้ในปฏิกริยามากขึ้น และศึกษาการเพิ่มปริมาณของกรดลอริกเพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเนื้อผลิตภัณฑ์ โดยศึกษาการเปลี่ยนวัฏภาคด้วยเครื่อง Differential Scanning Calorimetry (DSC) พบว่าอุณหภูมิในการตกผลึกมีความใกล้เคียงกันซึ่งเห็นได้ชัดจากเนื้อผลิตภัณฑ์ที่ประกายมุกนั้นเกิดขึ้นคล้ายคลึงกัน โดยผลึกเกิดขึ้นทันทีหลังจากทำการลดอุณหภูมิ |
|
dc.description.abstractalternative |
Foaming products are produced through a saponification reaction between lauric acid and potassium hydroxide. To obtain potassium laurate crystalline product, by reacting at 90ºC for 60 min and collecting samples at 0, 10, 20, 30, 40, 50 and 60 min, it was found that the conversion value increased rapidly at 60 min. The conversion value was at 94.77% with no effect on the reaction time. For the study of the effect of cooling rate on the crystallization of potassium laurate, it was found that the cooling rate of 1-2 ºC/min was the suitable cooling rate for cleansing foam production. The texture of the product is shiny and beautifully arranged crystals. It is the optimum controlled rate of product cooling and complete crystallization. Study on changes in potassium hydroxide content to observe the change of product texture and pearlescent effect in the product texture. It was found that KOH 7%, KOH 15% had a hard, crumbly texture, opaque gel, and clear pearlescent effect in the product. Therefore, reducing the amount of potassium hydroxide may increase the amount of reactants used in the reaction. Increasing the amount of lauric acid to observe the change in product texture. By studying the phase transition by Differential Scanning Calorimetry (DSC), it was found that the crystallization temperature was similar and consistent with the pearlescent texture of the product. The crystals formed immediately after the temperature was lowered. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.800 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Chemical Engineering |
|
dc.title |
การศึกษาการผลิตและคุณลักษณะของผลึกโพแทสเซียมลอเรตสำหรับผลิตภัณฑ์โฟมล้างหน้า |
|
dc.title.alternative |
Study the production and crystal properties of potassium laurate for facial cleansing cosmetic products |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมเคมี |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.800 |
|