dc.contributor.advisor |
วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ |
|
dc.contributor.advisor |
อลงกรณ์ พิมพ์พิณ |
|
dc.contributor.author |
วรธัน เจษฎาไกรสร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-02-03T04:00:32Z |
|
dc.date.available |
2023-02-03T04:00:32Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81526 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
การวัดอิมพิแดนซ์ถูกนำไปใช้ในงานทางวิศวกรรมชีวภาพและการแพทย์ในหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น การตรวจสอบการเจริญเติบโตของเซลล์ การรวมตัวของกลุ่มเซลล์ การเคลื่อนตัวของกลุ่มเซลล์ รวมทั้งการตอบสนองต่อการรักษาโรคของกลุ่มเซลล์ต่างๆ ข้อดีของวิธีการวัดสัญญาณไฟฟ้าเมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคทางชีววิทยาคือ วิธีการไม่ซับซ้อน ใช้เวลาน้อย และความสามารถในการวัดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแตกต่างจากวิธีการวัดแบบเดิม เช่น การย้อมสีเซลล์ทำให้เกิดความเสียหายหรือทำลายตัวอย่างเซลล์ในการทดลอง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบการวัด ไมโครอิเล็กโทรด และกระบวนการทำงาน สำหรับวัดค่าอิมพิแดนซ์ของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ชนิด HT-29 ในรูปทรงสองมิติและสามมิติ ระบบที่ใช้ประกอบด้วยจานเพาะเลี้ยงชนิดก้นหลุมแบนและครึ่งทรงกลม ชุดจับไมโครอิเล็กโทรด และเครื่องวัดสัญญาณอิมพิแดนซ์ ในตอนเริ่มต้น เซลล์มะเร็งจำนวน 5000 เซลล์ในของเหลวปริมาตร 200 ไมโครลิตรถูกบรรจุในหลุมเพาะเลี้ยง และปล่อยให้เซลล์รวมตัวเป็นก้อนสามมิติเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ไมโครอิเล็กโทรดที่ใช้วัดสัญญาณมีขนาด 200 ไมโครเมตร ถูกใส่เข้าไปในท่อซิลิโคนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร ยาว 20 มิลลิเมตร โดยอิเล็กโทรดมีระยะห่างกัน 2.5 มิลลิเมตร ในการทดลองจะทำการบันทึกค่าอิมแดนซ์และบันทึกภาพการเปลี่ยนแปลงของก้อนเซลล์ทุก 24 ชั่วโมง เปรียบเทียบกับเซลล์มะเร็งที่ได้รับการกระตุ้นด้วยยาที่มีความเข้มข้น 2.5 ,5 ,10 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าเซลล์ทดลองในแต่ละวันมีค่าอิมพิแดนซ์ที่ต่างกัน และเซลล์ที่ไม่ได้รับยามีค่าอิมพิแดนซืที่ต่างจากเซลล์ที่ได้รับยา โดยสัญญาณอิมพิแดนซ์ของเซลล์มะเร็งแบบสองมิติและสามมิติจะถูกนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อบอกความแตกต่างของอิมพิแดนซ์จากการเรียงตัวของเซลล์ |
|
dc.description.abstractalternative |
Impedance measurement has been widely used in bioengineering which is currently employed in monitoring several cellular processes such as cell growth, cell adhesion, cell migration and effect of drugs on cells. Impedance measurements are become more popular due to their remarkable advantages, including label free, non-invasive, non-destructive and quantitative. However, the main advantage of cell impedance measurement is to perform long term monitoring that improve from conventional methods such as cell staining that often effects cell destruction. In this work, we developed a measurement system and microelectrode for characterize an impedance of colon cancer cells type HT-29 in 2D and 3D forms. Five thousand cells of human HT-29 colon were seeded at densities to yield 200 µm for 72 hr. in both Round Bottom and Falt Bottom 96-well plate. The electrodes diameter of 200 µm was inserted to 20 mm. long silicone tube that have diameter of 2.5 mm. with 2.5 mm length between each other. The trial values were saved every 24 hr. for 72 hr. to shown the difference of impedance between each day of experiment and difference between non-treated cells and treated cells. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.815 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Engineering |
|
dc.title |
การวัดค่าอิมพิแดนซ์ของเซลล์มะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดแบบ 2มิติ และ 3มิติ |
|
dc.title.alternative |
Impedance measurement of 2D and 3D cancer cells treated with a chemotherapeutic drug |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมเครื่องกล |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.815 |
|