DSpace Repository

แนวทางการส่งเสริมระบบการก่อสร้างแบบอุตสาหกรรม - กรณีศึกษาของประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor นพดล จอกแก้ว
dc.contributor.author อรณิช ธนากรรฐ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-02-03T04:00:39Z
dc.date.available 2023-02-03T04:00:39Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81541
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การผลักดันการก่อสร้างให้เป็นระบบอุตสาหกรรม (Industrialized building system, IBS) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างเนื่องจากระบบดังกล่าวเป็นการก่อสร้างที่ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลาการก่อสร้าง อีกทั้งยังลดความสูญเปล่าของวัสดุในขั้นตอนการก่อสร้าง โดยจุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษารูปแบบการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรม จากนั้นศึกษาปัจจัย SWOT ของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมโดยใช้ทฤษฎี Internal Factor Evaluation Matrix (IFE Matrix) และ External Factor Evaluation Matrix (EFE Matrix) และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมที่เหมาะสมโดยวิเคราะห์ด้วย TOWS Matrix และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการศึกษาพบว่า วิธีการก่อสร้างในประเทศไทยที่มีระดับความเป็นระบบอุตสาหกรรมมากที่สุดคือ การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete System) และการก่อสร้างระบบโมดูลาร์ (Modular System) ต่อมาได้ทำการประเมินและวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกจำนวน 28 ปัจจัย พบปัจจัยที่เป็นจุดแข็ง 10 ปัจจัย, จุดอ่อน 4 ปัจจัย, โอกาส 8 ปัจจัย และอุปสรรค 6 ปัจจัย และค่าคะแนนถ่วงน้ำหนักจาก IFE และ EFE Matrix เท่ากับ 2.82 และ 2.75 มีสถานการณ์อยู่ในตำแหน่งการประคับประคองและบำรุงรักษา (Hold and Maintain) แนวทางในการส่งเสริมการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรม ได้แก่ การสนับสนุนจากภาครัฐ การอบรมและพัฒนาความรู้ และโควตาโครงการก่อสร้างด้วยระบบอุตสาหกรรม
dc.description.abstractalternative Industrialized Building System (IBS) is a construction technique that mainly aim to reduce construction time, labor force and improving quality of work. So, IBS is one of the alternatives that can solve the problem, especially for labor issue. The objective of this research is 1) To study IBS in Thai construction industry 2) To study and evaluated the SWOT factor of Thai construction industry for using IBS. 3) To propose the guidelines for promoting IBS in Thailand. The result shows that precast concrete system and modular system are evaluated to the top of IBS score. SWOT factor of Thai construction industry is collected and evaluated by using Internal Factor Evaluation Matrix (IFE Matrix) and External Factor Evaluation Matrix (EFE Matrix). There are 28 factors listed in this research that consists of 10 Strength, 4 Weakness, 8 Opportunity and 6 Threat. The result of IFE Matrix is 2.82 and EFE Matrix is 2.75 that shows Thai construction industry for using IBS is in Hold and Maintain period. Based on TOWS Matrix and In-depth interview, The guidelines for promoting IBS in Thailand are government policy, training, and project quota for Industrialization Building System.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.841
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title แนวทางการส่งเสริมระบบการก่อสร้างแบบอุตสาหกรรม - กรณีศึกษาของประเทศไทย
dc.title.alternative Guidelines for promoting the industrialized building system - case study of Thailand
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมโยธา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.841


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record