DSpace Repository

การลดแผงยาเสียในกระบวนการบรรจุยาเม็ด

Show simple item record

dc.contributor.advisor จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์
dc.contributor.author ทิวานันท์ มณีรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-02-03T04:00:45Z
dc.date.available 2023-02-03T04:00:45Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81548
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนแผงเสียของบรรจุภัณฑ์อะลูมิเนียมฟอยล์ ในรูปแบบแผงสตริพที่เป็นแผงยาเสียจากการซีลไม่สมบูรณ์ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่พบมากที่สุด การดำเนินงานวิจัยเริ่มจากทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยแผนภาพแสดงสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) พร้อมทั้งคัดกรองปัจจัยโดยใช้คะแนนความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผล (Cause and Effect Matrix) และการวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA : Failure Mode and Effect Analysis) โดยการประเมินตัวเลขแสดงความเสี่ยง (RPN : Risk Priority Number)  ซึ่งจากการคัดกรองปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดแผงยาเสียประเภทแผง Seal ไม่สมบูรณ์ ได้แก่ อุณหภูมิของ Sealing Roller, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller, ความตึงของฟอยล์ด้านพิมพ์และด้านไม่พิมพ์ เริ่มด้วยการทดลองแบบทีละปัจจัย (OFAT : One Factor at a Time) เพื่อทดสอบสมมติฐานว่าความแตกต่างของความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้านไม่มีผลต่อสัดส่วนแผงยาเสีย พบว่าการปรับระดับความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้านให้เท่ากัน ทำให้เกิดแผงยาเสียน้อยกว่าการปรับความตึงต่างระดับกัน จึงคัดกรองเหลือเพียง 3 ปัจจัย คือ อุณหภูมิของ Sealing Roller, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller, ความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้าน และได้ทำการประยุกต์ใช้หลักการออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลเต็มรูป (General Full Factorial Design) เพื่อหาระดับปัจจัยที่เหมาะสม จากการทดลองพบว่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม คือ อุณหภูมิของ Sealing Roller เท่ากับ 130 0C, ความเร็วในการหมุน Sealing Roller เท่ากับ 14 rpm, ความตึงของฟอยล์ทั้งสองด้าน คือ ระดับ 7 โดยเมื่อนำระดับปัจจัยที่ได้มาปรับใช้ในกระบวนการบรรจุยาเม็ดในรูปแบบแผง Strip พบว่าสัดส่วนแผงยาเสียประเภทแผง Seal ไม่สมบูรณ์เฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 4.82% เหลือเพียง 1.38%
dc.description.abstractalternative The objective of this research was to reduce the proportion defect of aluminium foil strip, which are the most defects in tablet packaging strips due to incomplete sealing. The research was started by analyzing the causes of problems and related factors with a Cause and Effect Diagram and screening the factors by using the Cause and Effect Matrix scores and Analysis of defects and their Effects Failure mode and Effect Analysis by assessing the Risk Priority Number (RPN). It was found that the factors that resulted in incomplete sealing were temperature of sealing roller, speed of sealing roller, the tension of the print foil and the unprint foil. Using one factor at a time to test adjusting the tension of the foil on both sides equally resulted in less defect than adjusting the different tension levels. Therefore, only 3 factors were filtered, namely Sealing Roller temperature, speed of sealing roller, foil tension on both sides, and applied the general full factorial design experimental. To find the appropriate level of factors. From the experiment it was found that the optimum factor level was the temperature of the sealing roller equal to 130 0C, the speed of sealing roller was 14 rpm, the tension of the foil on both sides was level 7. When the factor level applied in the process was applied in tablet packing process, the average daily proportion of Defect reduced from 4.82% to only 1.38%.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.888
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title การลดแผงยาเสียในกระบวนการบรรจุยาเม็ด
dc.title.alternative Defect reduction in tablet packing process
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.888


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record