DSpace Repository

การศึกษาเปรียบเทียบติตถิยปริวาสกับการรับเข้าอุปสมบทในวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพรนุช ตันศรีสุข
dc.contributor.author ปรีชา ทิวัฑฒานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-02-03T04:03:20Z
dc.date.available 2023-02-03T04:03:20Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81587
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบติตถิยปริวาสในพระไตรปิฎกกับการรับเข้าอุปสมบทในวัดป่านานาชาติด้วยการศึกษาจากตัวบทและภาคสนาม  ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีทั้งสองมีความมุ่งหมายคัดกรองบุคคลนอกพุทธศาสนาที่มีความตั้งใจจริง เคารพศรัทธาในพระรัตนตรัย มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และสามารถปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตในคณะสงฆ์ เพื่อเป็นพระภิกษุตลอดชีวิต  ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสให้ผู้ขออุปสมบทได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนและปรับตัวกับวิถีชีวิตของพระภิกษุด้วย  ความแตกต่างสำคัญคือบุคคลที่เข้ามาอุปสมบทในวัดป่านานาชาติเป็นชาวต่างชาติซึ่งไม่คุ้นชินกับวัฒนธรรมพุทธศาสนาไทย  กระบวนการรับเข้ามีเป้าหมายเพื่อให้ความรู้และเคยชินกับการใช้ชีวิตตามแนวทางของวัดป่าในไทยซึ่งต้องอยู่อย่างเรียบง่าย ภายใต้อาณัติของพระอาจารย์  จึงต้องใช้ระยะเวลานานกว่าติตถิยปริวาสและไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแต่ละบุคคล  ขั้นตอนที่ซับซ้อนในวัดป่านานาชาติแสดงถึงการประยุกต์ประเพณีในพระไตรปิฎกและประเพณีไทยให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกวัฒนธรรมพุทธศาสนาที่ต้องการเข้ามาอุปสมบทได้ทดลองการใช้ชีวิตพระภิกษุในพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ของคณะสงฆ์และบุคคลที่ขออุปสมบทเอง
dc.description.abstractalternative The research aims to analyze and compare Titthiyaparivāsa, “probation for non-Buddhist,” in Buddhist canon and the admission to ordination at Wat Pah Nanachat from texts and fieldwork. It was found that both traditions similarly intend to screen non-Buddhist man determined, believing in the Three Jewels, qualified, and able to adjust to the monastic lifestyle to be a long-life monk. Furthermore, it is the opportunity for the man who requests the ordination to learn the Buddha’s teaching and the monastic life.  The greatest difference between the two means of ordination is that the people who request the ordination in Wat Pah Nanachat are normally foreigners who are not acquainted with Thai Buddhism.  In addition to the learning, this admission also aims to train foreigners in the lifestyle of forest monks, which is simple and under the instruction of the teachers.   Therefore, it takes longer time than Titthiyaparivāsa and the amount of time is dependent on how long it takes the person to have the knowledge.  The complex process of admission at Wat Pah Nanachat reflects the application of the canonical tradition to the present context for the people outside of Thai Buddhist culture who request the ordination to spend their life in Buddhist monasticism for the benefit of the monastic community and themselves.   
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.715
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title การศึกษาเปรียบเทียบติตถิยปริวาสกับการรับเข้าอุปสมบทในวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี
dc.title.alternative A comparative study of Titthiyaparivãsa and admission to the ordination in Wat Pah Nanachat Ubon Ratchathani province
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ภาษาบาลี-สันสกฤต และพุทธศาสน์ศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.715


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record