dc.contributor.advisor |
พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม |
|
dc.contributor.author |
ปุญญิศา รัตนคำ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-02-03T04:37:50Z |
|
dc.date.available |
2023-02-03T04:37:50Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81721 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
งานศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาปัจจัยทางการเงินที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของอัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยวิเคราะห์สมการถดถอยแบบควอนไทล์และประมาณค่าความเสี่ยงของ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยโดยวิธี Growth at risk ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ปัจจัยทางการเงินและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและประมาณการแจงแจกความน่าจะเป็นของ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต โดยปัจจัยทางการเงินประกอบด้วย กลุ่มตัวแปรช่องทางของ
สถาบันการเงิน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดทุน ตลาดแลกเปลี่ยนและความผันผวนของตลาดการเงินโลก
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยทางการเงินกลุ่มช่องทางสถาบันการเงิน ตลาดตราสารหนี้ และความผันผวน
ของตลาดการเงินโลกมีความสัมพันธ์กับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในทิศทางตรงข้าม
อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับควอนไทล์ที่แตกต่างกัน ขณะที่ตลาดทุนและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
มีความสัมพันธ์กับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ
ควอนไทล์แตกต่างกันและพบว่ากลุ่มตลาดอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่อความเสี่ยงของอัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจในระยะสั้น กลุ่มความผันผวนของตลาดการเงินโลกส่งผลต่อความเสี่ยงของ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว สำหรับการวัดค่าความเสี่ยงของอัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจ(Growth at risk: GaR)พบว่า GaR 5% และ GaR 10% มีค่าความเสี่ยงติดลบ
ดังนั้นแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ใน
ช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ยังพบว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอนาคต
4-16 ไตรมาสล่วงหน้าเศรษฐกิจมีโอกาสฟื้นตัว แต่ความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ยังเพิ่มขึ้นอยู่และพบว่าดัชนีราคาน้ำมันและราคาน้ำมันส่งผลต่อความเสี่ยงของอัตราการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่ปกติ |
|
dc.description.abstractalternative |
This study aims to study the financial factors affecting Thailand's economic growth rate analyzing Quantile Regression and Growth at risk for study the relationship between financial factors and economic growth rate and to estimate probability distribution of economic growth rate in Thailand. Financial factors consist of financial institutions channel, bond markets, stock markets, exchange markets and global volatility markets. The results found that financial factors of financial institutions channel, bond market and global volatility markets are related to economic growth in the opposite direction were significantly at the different quantile levels. While stock markets and exchange markets are related to economic growth in the same direction were significantly at the different quantile levels. Moreover, exchange markets affect the risk of economic growth in the short term. Global volatility markets affect the risk of economic growth in the long term. For measuring the risks of future economic growth rates (Growth at Risk) found that Gar5% and Gar10% have the risk of negative growth. This reflects downside risk. As a result, the economic growth rate in Thailand is predicted at the risk of recession. In addition, it was found that the Thai economy in the future
4-16 quarters in advance, the economy has a chance to recover. However, the risk of economic growth is still increasing and found that the oil price index and the oil price affect the risk of the economic growth rate when the situation is not normal. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.473 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Economics |
|
dc.title |
ปัจจัยทางการเงินและความเสี่ยงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
Financial factors and growth at risk in Thailand |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.473 |
|