dc.contributor.advisor |
ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์ |
|
dc.contributor.author |
วรุตม์ ปัทมดิลก |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-02-03T05:04:37Z |
|
dc.date.available |
2023-02-03T05:04:37Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81819 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยเรื่อง กรรมวิธีการสร้างซอสามสายของครูจักรี มงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมวิธีการสร้างซอสามสายและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอสามสายของครูจักรี มงคล โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าครูจักรี มงคล มีชื่อเสียงในการบรรเลงซอสามสายรวมทั้งมีฝีมือในการสร้างซอสามสายโดยได้รับแรงบันดาลใจการสร้างซอสามสายจากแบบกระสวนซอสามสายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านซอสามสายหลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ช่างจรูญ คชแสง
ซอสามสายของครูจักรี มงคล มีคุณภาพเสียงที่มีความไพเราะควบคู่กับคุณภาพของชิ้นงานที่มีความสวยงาม ละเอียด ประณีต คงทน ด้วยกรรมวิธีการสร้างจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน คือการทำปากช้างบน ปากช้างล่าง ที่มีสัดส่วนเป็นธรรมชาติ คล้ายลักษณะกลีบบัว การทำแกนที่เป็นโลหะสแตนเลส ซึ่งมีน้ำหนักเบาสามารถนำกระแสเสียงและทนทานได้ดีกว่าไม้เนื้อแข็ง การทำคันชักซอสามสายที่หัวคันชักสามารถหมุนปรับได้โดยใช้หางม้าซอฝรั่ง เมื่อใช้งานเสร็จสามารถลดความตึงลง และมีรูปแบบที่สวยงามมีน้ำหนักเบาเท่ากันทั้งคันชัก ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอสามสายของ ครูจักรี มงคลคือการให้ความสำคัญกับความหนาบางของหนังซอขนาดกะโหลกซอสามสายใหญ่และหนา เมื่อขึ้นหนังหน้าซอแล้วจะมีมวลอากาศภายใน องศาของซอสามสายซึ่งรับแรงจากการรั้งสายและแรงกดจากหย่อง การตั้งหย่องและการติดถ่วงหน้าซึ่งมีตำแหน่งของหย่องและน้ำหนักของถ่วงหน้าที่เหมาะสม และได้พัฒนากรรมวิธีการสร้างจนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน คือการทำปากช้างบน ปากช้างล่าง ที่มีสัดส่วนเป็นธรรมชาติ คล้ายลักษณะกลีบบัว การทำแกนซอสามสายด้วย โลหะสแตนเลส การทำคันชักซอสามสายที่หัวคันชักสามารถหมุนปรับได้โดยใช้หางม้าซอฝรั่ง เมื่อใช้งานเสร็จสามารถหย่อนความตึงลง และมีรูปแบบที่สวยงามมีน้ำหนักเบาเท่ากันทั้งคันชัก |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this qualitative research entitled “Procress of Making Saw Sam Sai by Kru Chakri Mongkol” aimed to study 1. the biography related the craftsmanship of Kru Chakri Mongkol and 2. the construction processes and the factors affecting the sound quality of his Saw Sam Sai. The results revealed that his design of Saw Sam Sai was inspired by the design of Saw Sam Sai of His Royal Highness Prince Paribatra Sukhumbandhu, The Prince of Nagara Svarga and which was advised by the experts on Saw Sam Sai such as Professor Udis Narkswasdi and Charun Khotchasaeng. The Saw Sam Sai of Kru Chakri Mongkol has an excellent sound quality with a great quality of a piece that is dedicate and neat. His construction processes focused on the thickness of the stretched skin on the bout and the size of the large and thick bout. The angle of Saw Sam Sai carries the force of the string and the pressure from the bridge. The bridge and counterweight have the proper position and weight. Moreover, he has developed a unique construction method such as making the upper and lower Pak Chang (a component used for carrying the bout, as well as weight of string and the pressure of the string) with natural proportions similar to the lotus petal shape, making the neck with stainless steel, and making the bow that its head can be regulated by the string. In addition, the bow also has an elegant shape and lightweight and can loosen its tension. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.566 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.title |
กรรมวิธีการสร้างซอสามสายของครูจักรี มงคล |
|
dc.title.alternative |
Process of making Saw Sam Sai by master Chakri Mongkron |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ดุริยางค์ไทย |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.566 |
|