DSpace Repository

ประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฐสุดา เต้พันธ์
dc.contributor.author อธิชญา สุขธรรมรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2023-02-03T05:15:49Z
dc.date.available 2023-02-03T05:15:49Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81852
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้คำถามที่มีลักษณะกึ่งโครงสร้างกับผู้เข้าร่วมวิจัย คือ ผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน 6 คน ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการดูแลหรือกำลังให้การดูแลวัยรุ่นช่วงอายุ 13-19 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ว่าเป็นโรคซึมเศร้า โดยให้การสนับสนุนดูแลในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นให้กับวัยรุ่นในครอบครัว เช่น ด้านความเป็นอยู่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านอารมณ์ ด้านการรักษา หรือด้านการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 เดือน ผลการศึกษา พบประเด็นสำคัญ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. การมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการสนับสนุนดูแลวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างให้การดูแล 3. แนวทางการปรับตัวในบทบาทของผู้ดูแล และ 4. การตกผลึกทางความคิดจากประสบการณ์ในการดูแล สรุปผลการวิจัยแสดงให้เห็นประสบการณ์ทางจิตใจของบุคคลที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนดูแลวัยรุ่นในครอบครัวที่เป็นโรคซึมเศร้า ทั้งลักษณะแนวทางในการดูแลรับมือ มุมมองความคิด อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างให้การดูแล การปรับตัวและสิ่งที่ผู้ดูแลได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังเผชิญกับอุปสรรคปัญหาในการดูแลวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า รวมถึงผู้ที่มีความสนใจในงานให้บริการทางด้านสุขภาพจิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเป็นผู้ดูแลในครอบครัวให้กับวัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า ตลอดจนนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกในครอบครัวที่มีปัญหาทางด้านจิตใจต่อไป
dc.description.abstractalternative This qualitative research aimed at examining family carers’ psychological experiences from supporting and caring for adolescents diagnosed with depressive disorder. The interpretative phenomenological analysis (IPA) was used through in-depth interviews with semi-structured questions towards data collection. Participants were 6 family carers who formerly had experienced or are currently caring for adolescents aged between 13-19 years and were diagnosed with major depressive disorder by psychiatrists. Support given by participants include essential aspects of life, such as living condition as well as economic, social, mental well-being, medical treatment, and adjustment, for at least 3 months consecutively. Findings resulted in 4 main themes: 1) Sufficient resources in supporting and caring for adolescents diagnosed with depressive disorder, 2) changes in carers’ mentality and emotion during caregiving, 3) guidelines for adjustment of carers, and 4) crystallization of thoughts obtained from caregiving experiences. Research findings have indicated family carers’ psychological experiences of supporting and caring for adolescents diagnosed with depressive disorder, including their approaches for caregiving, perspectives, emotion emerged during caregiving, adjustment, resilience, and self-reflections from the experiences.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.557
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Psychology
dc.title ประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า
dc.title.alternative Psychological experiences of family carers in supporting and caring for adolescent patients with depressive disorder
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.557


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record