DSpace Repository

ผลของการฝึกด้วยแรงต้านควบคู่กับการเพ่งความตั้งใจในรูปแบบที่แตกต่างกันที่มีต่อขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา

Show simple item record

dc.contributor.advisor เบญจพล เบญจพลากร
dc.contributor.author พศวัต ศรีทอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2023-02-03T05:16:50Z
dc.date.available 2023-02-03T05:16:50Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81856
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ : การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยแรงต้านควบคู่กับการเพ่งความตั้งใจในรูปแบบที่แตกต่างกันที่มีต่อขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็น นิสิตมหาวิทยาลัยเพศชายที่ไม่ได้ฝึกด้วยแรงต้านอย่างเป็นประจำมาไม่น้อยกว่า 6 เดือน จำนวน 24 คน อายุระหว่าง 18 – 30 ปี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน ได้แก่ กลุ่มที่ 1 การเพ่งความตั้งใจแบบภายใน กลุ่มที่ 2 การเพ่งความตั้งใจแบบภายนอก กลุ่มที่ 3 ฝึกด้วยรูปแบบปกติ ทั้ง 3 กลุ่มฝึกด้วยท่าแมชชีนเลคเอ็กเทนชั่น ฝึก 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนการฝึกและหลังการฝึกทำการทดสอบพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าแบบเกร็งค้าง ความแข็งแรงสูงสุดเพียงหนึ่งครั้งของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า ช่วงฝึกสัปดาห์ที่ 1 และช่วงฝึกสัปดาห์ที่ 6 ทำการทดสอบคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย : ภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ทั้ง 3 กลุ่มมีค่าเฉลี่ยของพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าแบบเกร็งค้าง ความแข็งแรงสูงสุดเพียงหนึ่งครั้งของกล้ามเนื้อเหยียดเข่า เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทั้ง 3 กลุ่ม การทดสอบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าพบว่ากลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้ามากกว่ากลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัย : การฝึกด้วยแรงต้านร่วมกับการเพ่งความตั้งใจแบบภายในสามารถพัฒนาขนาด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาได้ไม่แตกต่างจากการเพ่งความตั้งใจแบบภายนอก และการฝึกด้วยรูปแบบปกติ สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มการทำงานของกล้ามเนื้อ สามารถใช้การเพ่งความตั้งใจแบบภายในเพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อมัดที่เฉพาะเจาะจง
dc.description.abstractalternative Purpose : The purpose of this study was to study the effects of resistance training combined with different attentional focus on thigh muscle size and muscle strength Methods : Twenty – four untrained men college (age 18 – 30 years) were randomly assigned to an internal focus combined with resistance training (n=8), or an external focus combined with resistance training (n=8), or a common resistance training (control) (n=8). All three groups performed a same exercise (machine leg extension) with 3 time per week for 6 weeks. Quadriceps muscle cross-sectional area, Isometric knee extension strength and 1RM knee extension strength were measured before and after training. Electromyography (EMG) were assessed in training week 1 and week 6. Data were analysed using Two-factor Mixed-design ANOVA with repeated measure. A level of significant was set at p-value < .05. Results : After 6 weeks of training, all three groups show similarly significant increase in Quadriceps muscle cross-sectional area, Isometric knee extension strength and 1RM knee extension strength, with no differences between groups. There was significant higher for EMG value in internal focus group than external focus group and control group. Conclusion : Resistance training combined with internal focus was not effective in increasing thigh muscle size and muscle strength when compared with external focus and common resistance training. If attempting to maximize muscle activation, an internal focus would seem to be a better choir.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.762
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Health Professions
dc.title ผลของการฝึกด้วยแรงต้านควบคู่กับการเพ่งความตั้งใจในรูปแบบที่แตกต่างกันที่มีต่อขนาดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขา
dc.title.alternative Effects of resistance training combined with different attentional focus on thigh muscle size and muscle strength
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.762


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record