DSpace Repository

ผลของการฝึกรำไทยในน้ำต่อความสามารถการเดินและการทรงตัวในผู้สูงอายุ 

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรสา โค้งประเสริฐ
dc.contributor.author ณิชาภา คุ้มพะเนียด
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2023-02-03T05:16:50Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81857
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกรำไทยในน้ำต่อความสามารถการเดินและการทรงตัว สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ภาวะกลัวการล้ม ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต และภาวะพุทธิปัญญาของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศชายและหญิง อายุ 60 ถึง 85 ปี จำนวน 42 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 14 คน ได้แก่ 1) กลุ่มควบคุม ไม่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกาย (CT) 2) กลุ่มฝึกการทรงตัว (BT) ได้รับโปรแกรมการฝึกออกกำลังกายการทรงตัวโอทาโก 3) กลุ่มฝึกรำไทยในน้ำ (AT) ได้รับการออกกำลังกายในน้ำด้วยรูปแบบรำไทย โดยกลุ่มที่ได้รับการฝึกจะใช้เวลาในการฝึกเท่ากัน คือ 60 นาทีต่อครั้ง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ รวม 12 สัปดาห์ โดยตลอดการทดลอง มีการทดสอบ 3 ครั้ง คือ ช่วงก่อนการทดลอง (P0) ช่วงหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 (P1) และช่วงหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 (P2) ทำการทดสอบตัวแปรด้านการทรงตัวแบบหยุดนิ่ง (Static balance) และการทรงตัวแบบเคลื่อนไหว (Dynamic balance) ความสามารถการเดิน สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ภาวะกลัวการล้ม ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน คุณภาพชีวิต และภาวะพุทธิปัญญา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบโดยสถิติความแปรปรวนสองทางแบบผสม (Two-Way Mixed-design ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยข้อมูล และเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่  โดยใช้ วิธีการทดสอบบอนเฟอร์โรนี (Bonferroni) พิจารณาระดับความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่ม AT มีผลการทรงตัวแบบหยุดนิ่งและเคลื่อนไหวดีขึ้น ความเร็วในการเดิน จำนวนก้าวต่อนาที และความยาวการก้าวเท้าดีขึ้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความทนทานของกล้ามเนื้อเหยียดและงอเข่าดีขึ้น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกดีขึ้น ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อส่วนล่างมากขึ้น ระยะทางในการเดิน 6 นาทีมากขึ้น ภาวะกลัวล้มที่ลดลง คะแนนคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และภาวะพุทธิปัญญาในทุกการทดสอบดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการฝึก นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อพิจารณาที่ช่วง P2 เปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่ม AT กับ CT พบว่า มีผลความสามารถการทรงตัวทั้งแบบหยุดนิ่งและแบบเคลื่อนไหวดีกว่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหุบสะโพกดีกว่า แรงบีบมือที่มากกว่า ภาวะกลัวล้มต่ำกว่า และภาวะพุทธิปัญญาในทุกการทดสอบที่ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม AT และกลุ่ม BT ที่ช่วง P2 พบว่า กลุ่ม AT มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหุบสะโพกมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ตัวแปรอื่นให้ผลไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่า การฝึกรำไทยในน้ำเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์สามารถพัฒนาความสามารถในการเดินและการทรงตัว สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ภาวะกลัวการล้ม คุณภาพชีวิต และภาวะพุทธิปัญญาของผู้สูงอายุ
dc.description.abstractalternative This present study aims to investigate the effects of Aqua Thai dance on gait and balance, health-related physical fitness, fear of falls, quality of life, and cognitive function in older adults. A total of 42 participants aged between 60 to 85 years were randomly allocated into 3 groups, n = 14 per group, as follows: 1) control group (CT) that received no intervention, 2) balance training that performed OTAGO (BT), and 3) aqua Thai dance group (AT) that performed Thai dance in water base. The BT and AT were performed for 60 mins/session, 3 times a week, for a total of 12 weeks. The assessment was carried out 3 times: before the intervention (P0), after 6 weeks of training (P1), and after 12 weeks of training (P2). The outcome measurements were static balance, dynamic balance, gait, health-related physical fitness, fear of falls, activity daily livings, quality of life, and cognitive function. A Two-way Mixed-design ANOVA was employed for statistical analysis. The Bonferroni test, with a significance threshold at p<0.05 was used for pairwise comparison. After 12 weeks of training, AT group had significant enhancement in static & dynamic balances, cadence, step & stride lengths, muscle strength and endurance of knee, muscle strength of hip, muscle flexibility, 6-min walk test, fear of falls score, quality of life, and cognitive function (p<0.05), when compared before and after intervention. In addition, the AT group had significantly greater static & dynamic balances, hip strength, quality of life, and cognitive function when compared with the CT group at P2 (p<0.05). A comparison between the AT and BT groups revealed that the AT had significantly better hip adductor strength (p<0.05), while no difference was observed in other outcome measurements at P2. In conclusion, a 12-week program of Aqua Thai dance is potent in enhancing gait and balance, health-related physical fitness, fear of falls, quality of life, and cognitive function in older adults.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.757
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Health Professions
dc.title ผลของการฝึกรำไทยในน้ำต่อความสามารถการเดินและการทรงตัวในผู้สูงอายุ 
dc.title.alternative Effects of aqua Thai dance on gait and balance performance in older adults
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.757


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record