dc.contributor.author | พนม คลี่ฉายา | |
dc.contributor.author | พงษ์พันธ์ กีรติวศิน | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-02-14T11:13:58Z | |
dc.date.available | 2023-02-14T11:13:58Z | |
dc.date.issued | 2565 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81941 | |
dc.description | การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีกับฐานชีวิตวิถีใหม่ของผู้สูงอายุ -- ความมั่นคงทางรายได้จากการทำงานของผู้สูงอายุ -- รายได้นอกระบบการจ้างงานของผู้สูงอายุ -- แนวคิดเรื่องความรอบรู้เรื่องสื่อดิจิทัลหรือการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล -- ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล -- เทคโนโลยีกับการดูและสุขภาพของผู้สูงวัย -- ผู้สูงอายุและคนต่างรุ่นวัยกับการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ -- การดำเนินโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและอธิบายทักษะการใช้งาน ความรอบรู้ทาง เทคโนโลยี และความสามารถในการจัดการกับการใช้ชีวิตประจำวันแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ท่ามกลางการ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีของผู้สูงอายุและผู้ที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ และนำไปสร้างรูปแบบวิธีการ พัฒนาการใช้เทคโนโลยีสร้างรายได้ ดูแลสุขภาพ ดำเนินชีวิตประจำวัน และอยู่ร่วมกันระหว่างรุ่นวัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 1,424 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นอายุ 60-69 ปี และกลุ่มผู้ที่จะก้าวสู่ วัยผู้สูงอายุ 40-59 ปี ทั้งกลุ่มทั่วไปและกลุ่มเปราะบาง จาก 11 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาครวมทั้ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มผู้สูงอายุและผู้จะ ก้าวสู่วัยผู้สูงอายุที่ใช้เทคโนโลยีในการหารายได้ ดูแลสุขภาพ ใช้ในชีวิตประจำวัน และสร้าง ความสัมพันธ์ต่างรุ่นวัย รวม 29 คน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาผู้สูงอายุ 22 คน และการ วิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) ที่เผยแพร่บนสื่อออนไลน์ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2563 นำผลการวิจัยทั้งสามส่วนมาสังเคราะห์สร้างรูปแบบการพัฒนาผู้สูงอายุบนฐานวิถี ชีวิตใหม่ ดำเนินการตรวจสอบข้อเสนอโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งใช้งานอินเทอร์เน็ตมามากกว่า 5 ปี ส่วนมากมีบัญชีไลน์และเฟซบุ๊กของตนเอง ปรับตัวต่อเทคโนโลยีใหม่อยู่ในระดับปานกลาง ใช้งาน คล่องแคล่วระดับปานกลาง กลุ่มอายุ 50-59 ปี และกลุ่มอายุ 60-69 ปี มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี ระดับปานกลาง ส่วนกลุ่มอายุ 40-49 ปี อยู่ในระดับมาก สามารถใช้ชีวิตแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ ด้าน การป้องกันตนเองมิให้ติดเชื้อโควิดได้มากที่สุด รองลงมาคือการพักผ่อนหย่อนใจบนสื่อออนไลน์ และ การนัดหมายผ่านโทรศัพท์มือถือ สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเปราะบาง จำนวนครึ่งหนึ่งระบุว่าไม่มีอุปกรณ์เชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตเป็นของตนเอง จำนวนครึ่งหนึ่งระบุว่าไม่ใช้อินเทอร์เน็ต ความสามารถใช้เทคโนโลยีอยู่ใน ระดับน้อยที่สุด มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยีระดับน้อย สามารถใช้ชีวิตประจำวันแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ ด้านการป้องกันตนเองมิให้ติดเชื้อโควิด รองลงมาคือการเปลี่ยนมาพูดคุยผ่านแอปพลิเคชันและดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์บ้าง ด้านการใช้เทคโนโลยีหารายได้ของผู้สูงอายุวัยต้นและผู้จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุพบว่า มี รูปแบบการสร้างรายได้จากการสร้างเนื้อหาบนยูทูบ ติ๊กต็อก เปิดเฟซบุ๊กเพจ การขายสินค้าออนไลน์ ทั้งสินค้าทั่วไปและสินค้าที่สร้างจากทรัพยากรในชุมชน การจ้างงานอาชีพอิสระ ด้านการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันพบว่า ผู้สูงอายุมีการใช้ในเรื่องการงาน การ เข้าถึงความช่วยเหลือจากรัฐผ่านแอปพลิเคชัน การเงินการธนาคาร ซื้อสินค้าออนไลน์ ใช้พักผ่อน หย่อนใจ สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน ด้านการใช้เทคโนโลยีดูแลสุขภาพพบว่า ใช้เข้าถึงข้อมูลสุขภาพออนไลน์ ใช้อุปกรณ์และ แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ใช้ติดต่อแพทย์ในนัดหมายเข้ารับการตรวจติดตามการรักษา การนำระบบ ช่วยเหลือฉุกเฉินมาใช้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ด้านการใช้เทคโนโลยีสร้างความสัมพันธ์ต่างรุ่นวัยพบว่า ใช้แอปพลิเคชันสนทนาพูดคุย กับลูกหลานที่อยู่ห่างไกล สื่อสังคมออนไลน์และเกมเป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงให้ผู้สูงอายุและลูกหลานได้ เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ถ่ายคลิป ถ่ายภาพ เพื่อโพสต์ สอนเล่นเกม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อผู้สูงอายุประกอบด้วยหน่วยงานรัฐ องค์กรสาธารณะประโยชน์ สื่อ บริษัทธุรกิจ นักวิชาการ โดยมีบทบาท ได้แก่ การดำเนินงานตาม นโยบายรัฐ ให้การศึกษา สร้างเสริมศักยภาพ ให้การดูแลผู้สูงอายุ สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ สร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมด้านการสร้างรายได้ การสร้างองค์ความรู้ ติดตาม และผลักดันนโยบาย เพื่อผู้สูงอายุ งานวิจัยมีข้อเสนอรูปแบบการพัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเตรียม ความพร้อมสังคมผู้สูงอายุฐานวิถีชีวิตใหม่ 4 รูปแบบ ได้แก่ 1) สถาบันสูงวัยเพื่อความมั่นคงทางรายได้ ด้วยตนเองจากเทคโนโลยี 2) สูงวัยไลฟ์สเปียร์เพื่อสร้างการรวมกลุ่มส่งเสริมพัฒนาผู้สูงอายุ 3) สูงวัย ไปด้วยกัน ไม่่ทิ้งกัน เพื่อช่วยเหลือสร้างความเข้มแข็งและลดความเปราะบางของผู้สูงอายุกลุ่ม เปราะบาง 4) สูงวัยสมาร์ตลีฟวิ่ง ระบบช่วยเหลือฉุกเฉินให้ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงได้รับการรักษาทันท่วงที | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to explore and explain application skills. technological savvy and the ability to deal with new normal daily life amid the changing technology of the elderly and those who are stepping into the elderly. The research aims to create a model of how to develop the use of technology to generate income, take care of health, carry out daily life and coexistence between generations among elderly. Using a mixed research methodology. 1) Survey Research, a total sample of 1,424 people, divided into early elderly people aged 60-69 years and those who will enter the elderly 40-59 years old, both general and vulnerable groups from 11 provinces in all regions, including Bangkok and its vicinity. 2) In-depth Interview: A group of 29 senior citizens and prospective adults who use technology to earn money, take care of their health, use it in their daily lives. and building relationships with different generations. In addition, the interviewee includes 22 senior’s development stakeholders. 3) Document analysis published online between January and December 2020. The results of these three research areas were used to synthesize and create a model for the development of the elderly. The results of the survey research found that nearly half of the respondents had been using the Internet for more than five years, most of them having their own Line and Facebook accounts. They reported moderate adaptation to new technology and moderately active. The age group 50-59 years old and the age group 60-69 years old had moderate digital literacy. As for the age group 40-49 years old, it was at a high level. They can live a new normal way of life in terms of protecting oneself from being infected with COVID-19 as much as possible followed by online recreation. and appointments via mobile phones. For the sample that is a vulnerable group, half of them reported they didn't have their own Internet-connected device. Half of them said they did not use the Internet. Their ability to use technology is at a minimum. They have a low level of technological savvy. They are able to use new normal daily life in terms of protecting oneself from being infected with COVID-19. They switched to chat with others via applications and watching movies and listening to music online. For the use of technology to earn income among the early elderly and those who stepped into the elderly, research indicated three types; 1) creating content on YouTube. TikTok and Facebook page. 2) Selling products online for both general merchandise and products made from community resources. 3) Freelance employment. In terms of using technology in daily life, it was found that senior people use it for work, access to state aid through the application, banking online, shopping, take a rest and build relationship with friends. In the use of health care technology, it was found that they used to access online health information. They use health care devices and applications. They used to contact the doctor for appointments for follow-up visits and treatments. Using the emergency assistance system to take care of the elderly who are in dependency. In terms of using technology to build relationships between different generations, it was found that they use a chat app to talk to their distant grandchildren. Social media and games are areas that connect the elderly and their children to participate in activities together, such as filming clips, taking pictures to post on social media and teaching games. Those involved in promoting the use of technology for the elderly include government agencies. public interest organizations, media, business companies, academics. The finding indicated whose roles include implementation of government policies, education, capacity building provide care for the elderly, creating innovations for the elderly, inspire, promoting income generation, creating a body of knowledge, and following up and advocating for policies for the elderly. The research proposes 4 models for developing and promoting the use of technology to prepare the elderly society based on new normal lifestyles, namely 1) the elderly academy for self-employment from technology. 2) the elderly lifestyle spheres. Pierre to create a group to promote the development of the elderly. 3) the scheme to help strengthen and reduce the vulnerability of the vulnerable elderly 4) the Smart Living Emergency Assistance System for rescue elderly to receive timely treatment. | en_US |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | การรู้เท่าทันสื่อ | en_US |
dc.subject | เทคโนโลยีกับผู้สูงอายุ | en_US |
dc.title | การพัฒนาความรอบรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงทางรายได้สุขภาพ และการใช้ชีวิตในสังคมผู้สูงอายุบนฐานวิถีชีวิตใหม่ : รายงานการวิจัย | en_US |
dc.title.alternative | Development of Elderly’s Technolog Intelligence to Strengthen their Security in Income, Health and Living upon New Normal Aging Society | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |