Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความผูกพันและความเสี่ยงจากเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ของประชาชน วัดระดับความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทัน สร้างเว็บไซต์การเรียนรู้ และสร้างข้อเสนอแนะเพิ่มความสามารถการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ ดาเนินโครงการด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) เริ่มจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ร่วมกับการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชน 4 กลุ่มวัย ได้แก่ อายุ 15-22 ปี อายุ 23-39 ปี อายุ 40-59 ปี และอายุ 60 ปีขึ้นไป จานวนรวม 2,580 คน จากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ นาผลการวิจัยเข้าสู่การประชุมรับฟังความเห็นผู้เชี่ยวชาญ และพัฒนาต้นแบบเว็บไซต์การเรียนรู้ลดความเสี่ยงจากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า ในภาพรวมประชาชนใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูบ ในชีวิตประจาวัน วันละ 3-8 ชั่วโมง ใช้งานเพื่อความบันเทิง ติดต่อพูดคุย อ่านข่าว การทางานหรือเรียน มักจะแสดงความรู้สึกต่อเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการกดไลค์ เลิฟ มากกว่าจะแสดงความเห็น มีโอกาสพบเจอความเสี่ยงที่นาไปสู่อันตราย 15 เรื่อง เรียงลาดับดังนี้คือ ความรุนแรง โฆษณาเกินจริง ข้อมูลสุขภาพที่ไม่จริง ข่าวปลอม เนื้อหาลามก หวยออนไลน์ การพนันออนไลน์ ถูกหลอกซื้อสินค้า ถูกหลอกจากการชักชวนหารายได้ ภัยจากระบบคอมพิวเตอร์ แชร์ออนไลน์ ถูกหลอกจากคนแปลกหน้า ข้อมูลส่วนตัวถูกขโมย หุ้นออนไลน์ และการระรานกลั่นแกล้ง ทั้งนี้แต่ละกลุ่มวัยพบเจอความเสี่ยงที่คล้ายกัน และแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน ความสนใจในแต่ละช่วงวัย กล่าวคือ กลุ่มวัยรุ่นวัยเรียน อายุ 15-22 ปี พบเจอความเสี่ยงจากความรุนแรง โฆษณาเกินจริง ข้อมูลสุขภาพที่ไม่จริง ข่าวปลอม เนื้อหาลามก การพนันออนไลน์ การถูกหลอกจากการชักชวนทางาน กลุ่มวัยหนุ่มสาว อายุ 23-39 ปี พบเจอความเสี่ยงจากโฆษณาเกินจริง ความรุนแรง ข้อมูล สุขภาพที่ไม่จริง ข่าวปลอม เนื้อหาลามก การพนันออนไลน์ การถูกหลอกจากการซื้อสินค้า กลุ่มวัยผู้ใหญ่ อายุ 40-59 ปี พบเจอความเสี่ยงจากโฆษณาเกินจริง ข้อมูลสุขภาพที่ไม่จริง ความรุนแรง ข่าวปลอม เนื้อหาลามก หวยออนไลน์ การพนันออนไลน์ และกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป พบเจอความเสี่ยงจากข้อมูลสุขภาพที่ไม่จริง ข่าวปลอม ความรุนแรง หวยออนไลน์ โฆษณาเกินจริง เนื้อหาลามก แชร์ออนไลน์ สาหรับความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับที่สามารถใช้สื่อได้ ประเมินสื่อเป็น มีการป้องกันลดความเสี่ยงได้ และสามารถใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ได้ แต่ทักษะความสามรถในการสื่อสารอย่างเหมาะสม และการอ่าน ตีความหมาย เข้าใจเนื้อหา ยังอยู่ในระดับปานกลาง ผลการพัฒนาต้นแบบเว็บไซต์การเรียนรู้คือ เว็บไซต์ “คิด คุย ค้น” (www.คิดคุยค้น.net) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 3 กระบวนการ ได้แก่ 1) การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อบทเรียนการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ (Online Interactive Learning Object) เน้นความรู้ ทักษะและความสามารถในการลดความเสี่ยง 2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการเผยแพร่เนื้อหาเสริมสร้างความรู้ และการกระทู้สนทนา 3) กระบวนการลงมือปฏิบัติผ่านเครื่องมือสนับสนุนการตรวจสอบข้อมูล ข่าว ที่สงสัยว่าถูกต้อง เป็นจริง น่าเชื่อถือหรือไม่ เว็บไซต์ต้นแบบเปิดให้ใช้งานจริง 4 เดือน พบว่า สมาชิกเว็บไซต์ที่มีช่วงอายุ 13-22 ปีเข้าเรียนบทเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 23-35 ปี โดยสนใจเรียนบทเรียนเรื่อง “การติดต่อสื่อสารทางสังคม” (Social Communication) มากที่สุด รองลงมาคือเรื่อง “ความเข้าใจตัวบนของสื่อสังคมออนไลน์” (Media Text Understanding) เท่ากับเรื่อง “ความเสี่ยงจากการถูกหลอกลวง” เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบพื้นฐานความรู้ความสามารถก่อนเรียน และ ความรู้ความสามารถหลังเรียนบทเรียนครบ สรุปได้ว่า ความรู้ความสามารถหลังเรียนบทเรียนครบ อยู่ในระดับมากกว่าพื้นฐานความรู้ความสามารถก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์พบว่า เข้าชมเนื้อหาบทความเสริมความรู้รวม 378 ครั้ง เข้าชมกระทู้สนทนารวม 68 ครั้ง ผลการสังเคราะห์ข้อค้นพบ นามาพัฒนาเป็นกระบวนการสร้างความสามารถในความรอบรู้ทางดิจิทัลและการรู้เท่าทัน ประกอบด้วย การเสริมสร้างความรู้ทักษะความสามารถส่วนบุคคล การรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการจัดให้มีเครื่องมือที่สนับสนุนพฤติกรรมรู้เท่าทัน และเสนอยุทธศาสตร์เพิ่มความสามารถรู้เท่าทันสื่อของประชาชน ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความรู้ ทักษะ ความสามารถส่วนบุคคล ด้วยการสอนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ 2) ยุทธศาสตร์สร้างชุมชนรู้เท่าทันสื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันเตือนป้องกัน และ 3) ยุทธศาสตร์พัฒนาเทคโนโลยีสนับสนุนพฤติกรรมรู้เท่าทันสื่อ สร้างเครื่องมือตรวจสอบข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้อง