Abstract:
การวิจัยระยะที่ 2 มุ่งบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการสอนการรู้เท่าทันสื่อ ดิจิทัล ในด้านเนื้อหาและวิธีการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลสาหรับนักเรียนมัธยม ดาเนินการวิจัย ตามลาดับขั้นคือ ขั้นที่ 1) วิเคราะห์รายวิชาเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ ขั้นที่ 2) จัดประชุมระดมความคิด ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อจัดทาแนวทางการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ขั้นที่ 3) พัฒนาแนวทางการสอนการ รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และจัดทาตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นที่ 4) ทดสอบสอนโดยนาแผนการ เรียนรู้ที่ออกแบบขึ้นในโรงเรียน 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ อุบลราชธานี กาญจนบุรี และกรุงเทพมหานคร ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 5 และปีที่ 6 ผลการวิจัยระยะที่ 2 ได้พัฒนาเป็นแนวทางการสอนการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สาหรับ นักเรียนมัธยมขึ้น มีโครงสร้างเนื้อหาประกอบด้วย 5 กลุ่มสาระ และในแต่ละกลุ่มสาระวิธีการสอน ดังต่อไปนี้ สาระที่ 1 : การเข้าถึง การใช้งาน และการอ่านสื่อดิจิทัล โดยวิธีการสอนเน้นการ อภิปรายระหว่างครูกับนักเรียนโดยใช้กรณีศึกษา สาระที่ 2 : ความรู้พื้นฐานสู่การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ด้านองค์กรสื่อดิจิทัล กฎหมาย การ แยกแยะประเภทเนื้อหา พฤติกรรมการเสพติดสื่อดิจิทัล โอกาสที่นาไปสู่ความเสี่ยงอันตราย โดย วิธีการสอนเน้นการความคิด ประเมิน และวิพากษ์ความถูกต้อง ใช้เหตุการณ์ที่ใกล้ชิดกับนักเรียนมา วิเคราะห์ โดยมีครูเป็นผู้ช่วยในการเรียนรู้ ให้คาแนะนา หรือโค้ช (Coach) สาระที่ 3 : รู้เท่าทันชีวิตดิจิทัล และใช้อย่างปลอดภัย ได้ประโยชน์ เน้นการเรียนรู้โดยใช้ ปัญ ห าเป็นฐาน (Problem–based Learning) การสอนแบ บ ป ระเด็นศึกษา (Issue-based Learning) สาระที่ 4 : สร้างสรรค์สื่อดิจิทัลเพื่อชีวิตและสังคมที่ดี เป็นการออกแบบ ผลิตสร้างสรรค์ สื่อดิจิทัล รวมทั้งเทคนิควิธีการแทรกแซงของธุรกิจและเจ้าของสื่อในขั้นตอนการผลิต ใช้วิธีการสอน แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) สาระที่ 5 : เรียนรู้อยู่เสมอเพื่อการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เป็นการ คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสื่อดิจิทัลในอนาคต และการเตรียมตนเองให้พร้อมเพื่อดาเนินชีวิตอย่าง รู้ทันสื่อสื่อดิจิทัล ใช้วิธีการสอนแบบการสืบค้นข้อมูล การวาดภาพ บทบาทสมมติ ผลการทดสอบสอนบทเรียนตัวอย่างพบว่า บทเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในด้านความรู้ ครูผู้สอน มีความเห็นว่า เนื้อหาและวิธีการสอนเหมาะสมและนาไปสอนได้จริง นักเรียนมีความเห็นว่าเนื้อหา เข้าใจง่าย น่าสนใจ ทันสมัย มีประโยชน์ ใช้ได้จริงในชีวิตประจาวัน กิจกรรมในชั้นเรียนสนุก นักเรียน ได้แสดงความคิดเห็น อภิปราย และได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน