Abstract:
การวิจัยเรื่อง “ความต้องการข่าวสาร การใช้สื่อ และนิสัยการเปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการข่าวสารของผู้สูงอายุ ไทย 2) เพื่อสำรวจนิสัยการ เปิดรับสื่อของผู้สูงอายุไทยและ 3) เพื่ออธิบายลักษณะการใช้สื่อของผู้สูงอายุไทย ใช้วิธีการวิจัย เชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วัดผลแบบครั้ง เดียว (One-shot Case Study) และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 406 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มี จำนวนผู้สูงอายุมากที่สุด 2 อันดับแรก ผลการวิจัยสรุปได้ดังต่อไปนี้้ 1. ผู้สูงอายุมีความต้องการข่าวสารด้านเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวในประเทศไทย ความรู้ด้านสุขภาพร่างกาย ศาสนา/ธรรมะ ข้อมูลเกี่ยวโรคภัยไข้เจ็บ การรักษาพยาบาล กิจกรรม การพักผ่อน คลายเครียด ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ความรู้ด้านสุขภาพจิต สวัสดิการสังคมที่รัฐ จัดให้ เช่น ประกันสังคม สุขภาพ และข้อมูลด้านโภชนาการในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าความต้องการข่าวสารด้านความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ด้านกฎหมาย ด้านการเงิน ด้านข้อมูลการประกันชีวิต ทรัพย์สิน ด้านบ้านพักที่อยู่อาศัย ด้านเหตุการณ์ และด้านความเคลื่อนไหวในต่างประเทศ ของผู้สูงอายุมีความแตกต่างกันในแต่ละ ช่วงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 2. ผู้สูงอายุมีนิสัยการเปิดรับสื่อในภาพรวม คือ เปิดรับสื่อเป็นประจำมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์ บุคคลใกล้ชิด และโทรศัพท์มือถือ กล่าวคือ ผู้สูงอายุมักจะชมโทรทัศน์มากที่สุด โดยรับชมสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 ช่อง 7 และชมรายการข่าวเป็นประจำมักจะชมในช่วงเวลา 17.01-21.00 น. ซึ่งใช้เวลาในการชมโทรทัศน์ต่อครั้ง 1-3 ชั่วโมง และมีการสนทนาพูดคุยเรื่อง ทั่วไป กับลูกหลาน/ญาติ และมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พูดคุยเรื่องทั่วไปกับลูกหลาน/ญาติ และ มักจะใช้ในช่วงเวลา 13.01-17.00 น. มากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นิสัยการเปิดรับสื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์ แล ะ โทรศัพท์มือถือเกี่ยวข้องกับช่วงอายุที่แตกต่างกันของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 3. การใช้สื่อของผู้สูง อายุในภาพรวมสามารถสรุปได้ว่ามี 7 ลักษณะ ได้แก่ 1) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องราวต่าง ๆ กับคนรอบข้าง 2) ลดความรู้สึกขาดความมั่นคงในการใช้ ชีวิต 3) สร้างความสุขกับเพื่อน สังคม ครอบครัว 4) รับรู้เรื่องราวเหตุการณ์ในสังคม และชีวิตประจำวัน 5) ทำความเข้าใจตนเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้กับตนเอง 6) ผ่อนคลาย ความตื่นตาตื่นใจ ฆ่าเวลาและ 7) หลีกหนีจากความรู้สึกโดดเดี่ยว หลีกหนีจากสังคม 4. ความคิดเห็นผู้สูงอายุที่มีต่อสื่อต่าง ๆ พบว่า สื่อโทรทัศน์และสื่อบุคคลเป็นสื่อที่ให้ ความรู้แรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต และความบันเทิงในระดับมาก ในขณะที่สื่อวิทยุ หนังสือพิมพ์นิตยสาร ภาพยนตร์ และอินเทอร์เน็ต อยู่ในระดับปานกลาง