Abstract:
โครงการนี้เป็นโครงการปีที่ 2 ของการศึกษาหาเอนโดไฟท์ที่เจริญอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของมันสำปะหลังที่ เจริญอยู่ร่วมกับมันสำปะหลังจำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ 1) พันธุ์ห้วยบง 60 2) พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 และ 3) พันธุ์พิรุณ 1 สามารถแยกเอนโดไฟท์ได้ 67, 60, และ 42 ไอโซเลทตามลำดับ จากนั้นนำประชากรเอนโดไฟท์ที่ แยกได้มาทดสอบสมบัติทางชีวภาพที่มีประโยชน์ในการดำรงชีวิตต่อพืช ได้แก่ ความสามารถในการสร้างกรด อินโดลอะซีติก ความสามารถในการเพิ่มการละลายฟอสเฟต และการสร้างสารไซเดอโรฟอร์ รวมถึงการศึกษา ลำดับนิวคลีโอไทด์ 16S rDNA พบว่า เอนโดไฟท์มีสมบัติในการสร้างกรดอินโดลอะซีติก สมบัติในการละลาย ฟอสเฟตในดิน และสมบัติในการสร้างสารไซเดอร์โรฟอร์ ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับไอโซเลท เอนโดไฟท์ที่แยกได้ จำนวน 2 ไอโซเลท ได้แก่ PR1s-1 และ HB60r-9 ได,ถูกนำมาศึกษาในการแยกอนุพันธ์กรดอินโดลอะซีติก ผลการทดลองพบว่า อนุพันธ์ของกรดอินโดลอะซีติก ถูกแยกอยู่ในส่วนของตัวทำละลายเอทิลอะซิเทตและเฮกเซน ที่สกัดจากอาหารเลี้ยงเชื้อเอนโดไฟท์ PR1s-1 และ HB60r-9 ตามลำดับ ซึ่งสารดังกล่าวจะถูกนำมาทำให้ บริสุทธิ์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและโครงสร้างของสารต่อไป นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาแบคทีเรียที่มีสมบัติ ในการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสที่ช่วยในการย่อยสลายซากพืชจากดินที่ปลูกมันสำปะหลัง 3 สายพันธุ์ใน ระยะเวลา 3, 6, 9 และ 12 เดือน ผลการศึกษาพบว่า สามารถคัดแยกแบคทีเรียที่มีสมบัติในการสร้างเอนไซม! เซลลูเลส จำนวน 86 ไอโซเลท และเมื่อศึกษาลำดับนิวคลีโอไทด์ 16S rDNA จำนวน 68 ไอโซเลท พบว่าไอโซ เลทส่วนใหญ่ (67 ไอโซเลท จาก 68 ไอโซเลท) อยู่ในสกุล Bacillus ซึ่งไอโซเลทที่แยกได้จะถูกนำมาศึกษา สมบัติของเอนไซม์เซลลูเลสที่จำเพาะและประยุกต์ใช้ต่อไป