Abstract:
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการเพิ่มกำลังขยายด้านผลผลิตทางเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมมีการ เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องทำให้น้ำบาดาลมีระดับลดต่ำลงในหลายพื้นที่ นอกจากนี้บางพื้นที่พบว่ามีคุณภาพน้ำ บาดาลเสื่อมโทรมลงเนื่องจากการปนเปื้อนจากการใช้สารเคมีเกษตร ดังนั้นวัตถุประสงค์การศึกษาในปีแรกคือ การศึกษาการกระจายตัวและกระบวนการของการปนเปื้อนไนเตรทในชั้นน้ำหินร่วน และในปีที่สองเพื่อประเมิน การกระจายตัวและอธิบายกลไกที่ส่งผลกระทบต่อปริมาณไนเตรทในชั้นน้ำหินแข็ง (ชั้นน้ำประเภทหินภูเขาไฟ) สำหรับผลการศึกษาในปีที่สองแสดงในรายงานฉบับนี้เป็นหลัก สำหรับข้อมูลลักษณะทางอุทกธรณีวิทยาใน การศึกษาครั้งนี้ได้มาจากการลงพื้นที่สำรวจในภาคสนามและข้อมูลการหยั่งธรณีหลุมเจาะ ในการศึกษานี้ได้ทำการ วิเคราะห์พารามิเตอร์ทางอุทกธรณีเคมีและปริมาณไนเตรตของจำนวนตัวอย่างน้ำบาดาลทั้งสิ้น 42 ตัวอย่าง ใน พื้นที่อำเภอ แก่งคอย จังหวัดสระบุรี ประเทศไทย ซึ่งทำการศึกษาสองฤดูกาลทั้งในฤดูร้อนและฤดูฝน โดยสมบัติ ทางอุทกธรณีเคมีและค่าไอโซโทปเสถียรทช่วยในการบ่งชี้แหล่งกำเนิดของไนเตรต รวมถึงกระบวนการที่มีผลต่อ ปริมาณไนเตรตในน้ำบาดาล จากการศึกษาพบว่าพื้นที่ศึกษามีทิศทางการไหลของน้ำบาดาลจากทิศตะวันออกไปสู่ทิศตะวันตก ชนิด ของน้ำบาดาลส่วนใหญ่เป็นแคลเซียม โซเดียม ไบคาร์บอเนต (Ca-Na-HCO3) สำหรับปริมาณไนเตรตพบว่ามี ปริมาณสูงในฤดูร้อนเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นช่วยเร่งให้เกิดกิจกรรมทางชีวภาพ โดยพบปริมาณไนเตรตสูงสุดใน จุดตรวจวัดที่สองทั้งในฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากการสลายตัวของแร่และปุ๋ยในดินจากนาข้าว บริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้การติดตั้งบ่อสูบโยกมือที่ไม่สมบูรณ์ทำให้มลสารจากน้ำผิวดินรั่วไหลลงสู่ชั้นน้ำบาดาล ทั้งนี้กระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้ปริมาณไนเตรตในพื้นที่ลดลงคือ กระบวนการการเจือจาง ซึ่งมักพบในพื้นที่ทางด้าน ทิศตะวันออกของพื้นที่ศึกษา ในทางตรงกันข้ามกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถือเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างยิ่งใน การเพิ่มปริมาณไนเตรต ดังนั้นการวิเคราะห์ทางอุทกธรณีเคมีและไอโซโทปเสถียรจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ เข้าใจต่อแหล่งกำเนิดและกระบวนการที่มีผลต่อแปรปรวนของปริมาณไนเตรต นอกจากนี้การใช้สถิติการวิเคราะห์ พหุตัวแปรทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างธาตุแคลเซียม โซเดียม ไบคาร์บอเนตซึ่งเป็นตัวแทนของน้ำบาดาล ในธรรมชาติที่ไม่มีการปนเปื้อน และกลุ่มของธาตุแมกนีเซียม คลอไรด์ โพแทสเซียม แอมโมเนียม ไนโตรเจนได ออกไซด์ เป็นตัวแทนของธาตุที่เกิดจากการปนเปื้อนในน้ำบาดาลโดยกิจกรรมของมนุษย์ สำหรับการศึกษาวิจัย ต่อไปนั้นเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ชุมชนของแบคทีเรียในน้ำบาดาลที่ปนเปื้อนด้วยไนเตรตซึ่งช่วยให้การเลือก วิธีการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนด้วยไนเตรตในน้ำบาดาลได้อย่างเหมาะสม