DSpace Repository

การวางแผนเพื่อพัฒนาใช้หินแกรนิตในงานถนนและอาคาร : รายงานฉบับสมบูรณ์

Show simple item record

dc.contributor.author สง่า ตั้งชวาล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-10-02T02:12:58Z
dc.date.available 2008-10-02T02:12:58Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8205
dc.description แนวโน้มอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย -- วัสดุหินมวลรวม (Rock Aggregate Materials) -- แหล่งหินในประเทศ -- แหล่งหินแกรนิตในที่ดินกรรมสิทธิ์ -- แหล่งหินแกรนิตที่ใช้ทำเป็นหินประดับ -- แหล่งหินแกรนิตประเภทอื่น -- การตรวจสอบภาคสนามแหล่งหินแกรนิต -- แหล่งหินแกรนิตภาคเหนือ ; ภาคตะวันออก ; ภาคอื่น -- การทดสอบหินตัวอย่างและการวิเคราะห์ผล -- การวิเคราะห์คุณสมบัติของหินแกรนิตสำหรับการใช้งาน -- การเปรียบเทียบคุณสมบัติระหว่างหินแกรนิตกับหินปูน en
dc.description โครงการวิจัยเลขที่ 64G-MN-2547 en
dc.description.abstract วิธีการวิจัยมีการตรวจสอบแหล่งหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง ทั้งในส่วนที่เป็นแหล่งหินแกรนิตกับแหล่งชนิดอื่นแนวโน้มของการแผ่กระจายหินแกรนิตแยกออกเป็น 3 แนว ส่วนใหญ่อยู่ทางด้านขอบของตะวันตกของประเทศ และมีการวางตัวแนวเหนือ-ใต้ สำหรับโครงการก่อสร้างที่ต้องใช้หินปริมาณมาก แหล่งหินแกรนิตเหล่านี้ในหลายบริเวณเป็นแหล่งขนาดเล็กปริมาณสำรองมีไม่มากนัก แต่สามารถใช้หินแกรนิตเป็นหินสำรองทดแทนหินปูนได้ในหลายพื้นที่ ผลของการตรวจสอบคุณสมบัติหินแกรนิต ทั้งในคุณสมบัติเชิงกายภาพ คุณสมบัติเชิงเคมี คุณสมบัติเชิงกล ปรากฏว่าหินแกรนิตที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะใช้ทดแทนหินปูนได้ดี ถ้าหากนำหินแกรนิตเป็นหินมวลรวมในการก่อสร้างถนนหรืออาคารคอนกรีต ผลการตรวจสอบตัวอย่างหินเชิงวิทยาแร่ในหลายตัวอย่าง ยังไม่พบว่ามีปริมาณของสารมนทินหรือแร่ที่อาจเป็นอันตรายมากพอเมื่อนำไปใช้งาน ผลสรุปของงานวิจัยโครงการนนี้ มีความเป็นไปได้ว่า ควรมีการพัฒนานำหินแกรนิตมาใช้มดแมนหินปูน เพราะในบางแหล่งการนำหินแกรนิตมาใช้มีความคุ้มทุนมากกว่า และในงานก่อสร้างที่ต้องการใช้หินที่มีความทนทานต่อการขัดสีกับการรับน้ำหนักสูง หินแกรนิตจะมีความเหมาะสมมากกว่าหินชนิดอื่น สาเหตุจากการกำเนิดตกผลึกอย่างช้าๆ แร่ประกอบหินมีความแข็งและมีการยึดเกาะระหว่างผลึกแร่สูง และเนื้อหินมีความพรุนต่ำ ในกรณีที่หินแกรนิตบางแหล่งมีลวดลายสวยงาม สามารถใช้ทดแทนหินอ่อนได้ดีกับมีความทนทานต่อการใช้งานเป็นหินประดับสูงกว่า en
dc.description.abstractalternative Methods of investigation have been done by surveying the rock deposits of both granite deposits and other rock deposits. The granite distribution can be classified into 3 belts. Most of these belts are in the western boundary and having north-south trends. These granite deposits in many locations do not have enough rock reserve for a large construction project. But granite can be used as an alternative deposit of limestone in many locations. Results of property tests on physical, chemical and mechanical properties have been found that granite is suitable for replacing limestone as the rock aggregate for roads and concrete buildings. From mineralogical view point, there is no evidence that the contents of impurity or deleterious minerals in granite will cause damage in construction structures. Conclusion of this research project has tendency of trying to use granite as the rock construction for replacing limestone. This is because in some construction sites to use granite is more appropriate and economy. When the construction work needs to have rock aggregates that are more resistant on abrasion and carrying high load; granite will suit more than other rocks. The origin of granite is based on slow crystallization and the rock-forming minerals have high hardness and cohesion resulting in low porosity for granite mass. In some cases, granite has many colors in its surface texture thus it can be used as the ornamental rock replacing the marble and it does have more advantage on abrasion resistance. en
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน ปี 2547 en
dc.format.extent 42390551 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject หินแกรนิต en
dc.subject วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง en
dc.subject เหมืองหิน -- ไทย en
dc.subject แหล่งแร่ -- การสำรวจ en
dc.subject อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- ไทย en
dc.title การวางแผนเพื่อพัฒนาใช้หินแกรนิตในงานถนนและอาคาร : รายงานฉบับสมบูรณ์ en
dc.title.alternative Development plans for using granite in road and building works en
dc.type Technical Report es
dc.email.author fmnstc@kankrow.eng.chula.ac.th, Sanga.T@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record