Abstract:
การวิจัยภาพจิตรกรรมฝาผนังในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย เป็นการสำรวจ ศึกษา เพื่อค้นหารูปแบบของจิตรกรรมฝาผนังในท้องถิ่นบริเวณนี้ พบว่ามีรูปลักษณะสำคัญ 2 แบบ คือ รูปแบบ ช่างหลวง ตั้งอยู่ในเขตเมือง และรูปแบบช่างท้องถิ่น ตั้งอยู่นอกเขตเมือง โดยมีแหล่งจิตรกรรมฝาผนังริมฝั่งทะเลตอนล่าง ที่มีเนื้อหาการเขียนภาพแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่เขียนเกี่ยวกับพุทธประวัติและทศชาติ รูปแบบจิตรกรรมฝาผนังช่างหลวง มีวิธีการเขียนสืบทอดไปตามแบบแผนดั้งเดิม แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของรูปแบบในเขตเมือง โดยมีจิตรกรรมฝาผนังแบบยุคทองสมัยรัตนโกสินทร์เป็นหลักฐานที่มีคุณค่า ส่วนรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังช่างท้องถิ่น มีลักษณะแบบเฉพาะของตัวเอง ซึ่งสะท้อนสาระของเรื่องราวในชุมชนสังคมประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตได้อย่างน่าสนใจ มีอัตลักษณ์ของชุมชนกับจิตรกรรมฝาผนังที่มีแบบอย่าง และของกลุ่มเชื้อชาติที่ต่างออกไป โดยมีจันทบุรีเป็นแหล่งอารยธรรมของจิตรกรรมฝาผนังภาคตะวันออก