DSpace Repository

ปัจจัยด้านบุคลิกภาพและทัศนคติที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดในคดีการเสพยาเสพติด : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ชนัญชิดา ทุมมานนท์
dc.contributor.author ณัฐกานต์ จันทรศิริพุทธ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T05:51:16Z
dc.date.available 2023-05-12T05:51:16Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.isbn 9786169424505
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82081
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านบุคลิกภาพและทัศนคติของการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดในคดีการเสพยาเสพติดเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรการอบรม มีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ต้องขังหญิง อายุระหว่าง 28-52 ปี ที่ได้รับการพิพากษาจำคุกคดีความเป็นที่สิ้นสุดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดจำนวน 646 คน มีพื้นที่เก็บข้อมูล คือ เรือนจำ/ทัณฑสถานเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 5 แห่ง ตอบมาตรวัดจำนวน 5 ฉบับ คือ มาตรวัดความเมตตากรุณา ต่อตนเอง มาตรวัดบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม มาตรวัดความรู้สึกผิด มาตรวัดความหวัง และมาตรวัด แนวโน้มการกระทำผิดซ้ำ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านบุคลิกภาพและทัศนคติของการกระทำผิดซ้ำของ ผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดในคดีการเสพยาเสพติดด้วยโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง พบว่าบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคมมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการกระทำผิดซ้ำ โดยมีความหวังเป็นตัวแปรส่งผ่านความเมตตากรุณาต่อตนเองมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกผิดและความหวัง แต่มีสหสัมพันธ์ทางลบกับการกระทำผิดซ้ำ บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคมมีสหสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกผิดและความหวัง แต่มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการกระทำ ผิดซ้ำ ความรู้สึกผิดและความหวังมีสหสัมพันธ์ทางลบกับการกระทำผิดซ้ำ งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรการอบรมในระยะต่อไป คือ หลักสูตรการอบรม ควรประกอบด้วยเนื้อหาเพื่อลดลักษณะความหุนหันพลันแล่นซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของตัวแปรบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคมเป็นลำดับแรก และเนื้อหาด้านความหวังและด้านความรู้สึกผิด เป็นลำดับต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative The main objective in this research was to study the causal effect of personality and attitude in recidivism of drug addicted female inmates as a guideline for developing a training curriculum. Samples were 646 drug addicted female inmates between 28-52 years old in 5 prisons or correctional Institutions located in Bangkok and Bangkok metropolitan region. The samples were asked to complete 5 scales including self-compassion, antisocial personality, guilt, hope, and recidivisim. Structural equation modeling analysis revealed that the antisocial personality indirectly effected on recidivism through guilt. Self-compassion positively correlated with guilt and hope, it negatively correlated with recidivisism. The antisocial personality negatively correlates with guilt and hope, it positively correlates with recidivisism. The guilt and hope correlated with recidivisism. The research suggests that follow-up training curiculum should be conducted. Core contents in the curriculum should aim to reduce impulsivity characteristics in the antisocial personality and to enhance the hope and guilt in respectively. en_US
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยนี้ อยู่ภายใต้โครงการพัมนาแนวคิดผู้พ้นโทษกลุ่มผู้เสพยาเสพติดเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร มูลนิธิ ณภาฯ ในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ระยะเวลาการดำเนินการวิจัย 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher มูลนิธิ ณภาฯ ในพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.RES.2023.1
dc.rights มูลนิธิ ณภาฯ ในพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา en_US
dc.subject นักโทษหญิง en_US
dc.title ปัจจัยด้านบุคลิกภาพและทัศนคติที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังหญิงที่กระทำผิดในคดีการเสพยาเสพติด : รายงานการวิจัย en_US
dc.title.alternative Personality and attitude factors affecting recidivism in drug addicted femal inmates en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.RES.2023.1


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record