Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาชุมชนโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) ในการวางแผนจัดการวัสดุเหลือใช้จากกิจกรรมการเกษตรให้ถูกวิธีของชุมชนบ้านไร่-เขาดิน อําเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี วิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยกระบวนการ PAR โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มเจาะจง เกษตรกรจํานวน 24 ราย ของชุมชนโดยใช้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการ PAR ทําให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.64-17.67 และลดรายจ่ายครัวเรือนร้อยละ 6-10 และลดรายจ่ายในการทํานาร้อยละ 20-30 ต่อรอบการผลิตและค่าฝุ่น PM 2.5 ลดลงร้อยละ 50 หลังจากชุมชนเข้าสู่กระบวนการ PAR ในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้จากกิจกรรมทางการเกษตรโดยเผาในเตาเผามาตรฐาน และสังเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น โดยใช้ SWOT analysis พบว่าเกษตรกรมีจุดแข็งคือชุมชน จุดอ่อน คือ แหล่งเงินทุน โอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ส่งผลต่อในการผลิตข้าวปลอดภัยของชุมชนกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์ชีวภาพบ้านไร่-เขาดิน อุปสรรคได้แก่การเข้าถึงตลาดแต่มีชุมชนมีความพึงพอใจของกระบวนการ PAR โดยวิธีการ Likert scale พบว่าเกษตรกรมากกว่าครึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับมาก แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรมีความพึงพอใจที่ได้ต่อการเข้าร่วมกระบวนการและส่งผลให้การพัฒนาของชุมชน