DSpace Repository

แนวทางในการจัดเก็บภาษีความั่งคั่ง (Wealth Tax) ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อาร์ม ตั้งนิรันดร
dc.contributor.author พัฒน์ณิชานนท์ ลาภประเสริญล้ำ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-30T07:14:40Z
dc.date.available 2023-05-30T07:14:40Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82133
dc.description เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 en_US
dc.description.abstract ภาษีความมั่งคั่ง ถือเป็นภาษีทางตรงที่เรียกเก็บจากบุคคลที่มีฐานะร่ำรวยและถือเป็นภาษีทรัพย์สินชนิดหนึ่ง ซึ่งภาษีทรัพย์สินนั้นเป็นภาษีที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาส่วนท้องถิ่น เนื่องจากหลักการการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้น จะจัดเก็บจากอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในแต่ละท้องถิ่นเพื่อนำเงินรายได้ไปใช้จ่ายในการจัดหาบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนและพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ ให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น หากประเทศใดมีระบบการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินที่ดีก็จะมีรายได้เพียงพอที่จะพัฒนาท้องถิ่นและลดภาระของรัฐบาลกลางที่จะต้องให้เงินอุดหนุนแก่ท้องถิ่นลงได้ จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีทรัพย์สินหลายฉบับ ซึ่งบางฉบับนั้นยังมีข้อบกพร่องหลายประการทั้งในด้านโครงสร้างภาษีและการบริหารจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ส่งผลให้เงินรายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เพียงพอที่จะนำไปพัฒนาบริหารท้องถิ่น กล่าวคือ ในด้านโครงสร้างภาษีของกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีวิธีการบรรเทาภาระภาษีในส่วนของการลดอัตราภาษีและการยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรม โดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของทรัพย์สินที่ถือครอง ทำให้ผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าน้อยมีภาระภาษีมากกว่าผู้ที่ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าสูง ประกอบกับอัตราภาษีที่ต่ำเกินไปจนกระทั่งไม่เป็นภาระแก่ผู้ถือครองทรัพย์สินทำให้ไม่มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินและกระจายทรัพย์สินที่ถือครอง ซึ่งขัดกับหลักประโยชน์ที่ได้รับและขัดกับวัตถุประสงค์ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 สำหรับในด้านการบริหารจัดเก็บภาษีนั้น มีการจัดเก็บภาษีในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ให้แก่คนรวยและก่อให้เกิดการเลี่ยงภาษีได้ง่าย อีกทั้ง การประเมินมูลค่าทรัพย์สินซึ่งกำหนดให้ใช้มูลค่าประเมินโดยกรมธนารักษ์ที่เกิดขึ้นจากประเภทของทรัพย์สินและการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ยังขาดประสิทธิภาพและไม่มีความเป็นธรรม ดังนั้น ผู้เขียนเอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาและค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาภาษีทรัพย์สินของประเทศไทยในส่วนพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และการนำหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่งของประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยเป็นหลัก โดยเฉพาะการขยายฐานภาษีทรัพย์สินเพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ที่เพียงพอต่อการบริหารพัฒนาประเทศซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศไทย ประกอบกับสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคมและลดความเหลื่อมล้ำในประเทศได้ en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.159
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ภาษีทรัพย์สิน en_US
dc.subject การจัดเก็บภาษี en_US
dc.title แนวทางในการจัดเก็บภาษีความั่งคั่ง (Wealth Tax) ในประเทศไทย en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject.keyword ภาษีความมั่งคั่ง en_US
dc.subject.keyword การจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2022.159


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record