DSpace Repository

มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการให้สินเชื่อและการรับสิทธิในเงินฝากเป็นหลักประกัน : ศึกษาเฉพาะกรณี Pico-Finance

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธิดารัตน์ ศิลปภิรมย์สุข
dc.contributor.author ไพรัตน์ สุระศิรานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-30T08:56:25Z
dc.date.available 2023-05-30T08:56:25Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82135
dc.description เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 en_US
dc.description.abstract เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหามาตราการทางกฎหมายของโครงการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ หรือ Pico Finance โดยศึกษาในการกำกับดูแลการให้สินเชื่อ และการรับสิทธิเงินฝากเป็นหลักประกัน ซึ่งรัฐบาลได้จัดตั้งโครงการนี้เพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2559 โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ซึ่งใช้วิธีการศึกษาควบคู่ไปตามมาตรการทางกฎหมาย กับกระบวนการในการดำเนินการจริงโดยเริ่มตั้งแต่ต้นคือ ผู้ให้สินเชื่อขอใบอนุญาตในการประกอบ Pico Finance ไปจนถึง การยกเลิกจัดตั้งสถานประกอบการ โดยศึกษากฎหมายโดยตรง คือ ประกาศกระทรวงการคลัง (เรื่อง สินเชื่อย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ) และ ประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะนิติกรรม สัญญา และ ลักษณะหนี้ , พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 , พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 , พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 , พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 และ พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 โดยมีสมมติฐานว่า แม้กระทรวงการคลัง จะออกมาตรการสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) เพื่อต้องการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ แต่มาตรการทางกฎหมายในการกำกับและ ใช้หลักประกันทางธุรกิจ เช่น การกำกับวงเงินสินเชื่อ และสิทธิในเงินฝากเป็นหลักประกันเป็นต้นนั้น ยังเป็นปัญหา ดังนั้นจึงควรปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว เพื่อจะแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบด้วยมาตรการนี้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในการศึกษาและพิสูจน์สมมติฐาน พบปัญหาในเรื่องยอดหนี้การปล่อยสินเชื่อ , ปัญหาการบัญญัติอัตราดอกเบี้ยแบบเหมารวม , ปัญหาการใช้เงินฝากเป็นหลักประกัน โดยมีการยึดสมุดบัญชี บัตรกดเงินสด และปัญหาของกฎหมายทวงหนี้ที่มุ่งคุ้มครองเพียงแต่บุคคลธรรมดา ซึ่งหากแก้ไขปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ได้ โดยการแก้ไขมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็จะทำให้โครงการนี้มีประสิทธิผล มีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้ตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการ en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.129
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สินเชื่อ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en_US
dc.subject หลักประกัน en_US
dc.title มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการให้สินเชื่อและการรับสิทธิในเงินฝากเป็นหลักประกัน : ศึกษาเฉพาะกรณี Pico-Finance en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject.keyword หนี้นอกระบบ en_US
dc.subject.keyword หลักทรัพย์ค้ำประกัน en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2022.129


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record