DSpace Repository

การทำงานในแรงงานสูงอายุ

Show simple item record

dc.contributor.author เพ็ญพิชญา วงษ์วิวัฒน์
dc.contributor.author วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-31T05:07:23Z
dc.date.available 2023-05-31T05:07:23Z
dc.date.issued 2565-01
dc.identifier.citation วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 12, 1 (ม.ค. - เม.ย. 2565) หน้า 190-208 en_US
dc.identifier.issn 2730-3586
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82144
dc.description.abstract การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลกส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตลาดแรงงาน โดยมีแรงงานสูงอายุเพิ่มสูงมากขึ้น ซึ่งมีความแตกต่างจากวัยอื่นๆในหลายด้าน จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการส่งเสริมให้แรงงานสูงอายุสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและมีความปลอดภัย วัตถุประสงค์ : เพื่อทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับ (1) นิยามของแรงงานสูงอายุ (2) ลักษณะทั่วไปของแรงงานสูงอายุ (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานในแรงงานสูงอายุ (4) คำแนะนำเกี่ยวกับแรงงานสูงอายุ ผลการศึกษา : มีการให้นิยามแรงงานสูงอายุที่แตกต่างกันออกไป โดยควรมีการประเมินทั้งอายุตามปฏิทิน ร่วมกับอายุชีวภาพ โดยแรงงานสูงอายุเป็นแรงงานที่มีลักษณะต่างออกไปจากกลุ่มวัยอื่นๆ มีแนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงมากกว่าวัยอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาที่อาจส่งผลต่อการทำงาน เช่น การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ และระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อที่อาจส่งผลต่อการทำงานที่ต้องใช้แรงงานมากหรือการทำงานในภาวะที่อากาศร้อนหรือหนาวมาก การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทโดยทั่วไป การมองเห็นและการทำงานของระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อที่อาจส่งผลต่อการขับรถ การเปลี่ยนแปลงของการได้ยินที่อาจส่งผลต่อการรับรู้เสียงหรือสัญญาณเตือน การเปลี่ยนแปลงของการนอนหลับซึ่งอาจส่งผลต่อการเข้ากะการทำงานกลางคืน รวมถึงการมีโรคประจำตัวหรือภาวะทางสุขภาพต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อลักษณะงานเช่นเดียวกัน ในส่วนของปัจจัยต่างๆที่อาจส่งผลต่อการทำงาน เช่น ความสามารถในการปฏิบัติงาน การมีการสนับสนุนทรัพยากรในงาน และการตัดสินใจเกษียณอายุ จากการเปลี่ยนแปลงข้างต้นควรมีนโยบายต่างๆ เพื่อรองรับการทำงานในแรงงานสูงอายุทั้งจากรัฐบาล รวมถึงสถานประกอบการที่รับแรงงานสูงอายุเข้าทำงาน เพื่อให้แรงงานสูงอายุสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย โดยอาจมีความจำเป็นต้องมีการปรับลักษณะงานให้เหมาะสมกับลักษณะแรงงานสูงอายุแต่ละคน เนื่องจากแรงงานสูงอายุแต่ละคนมีความแตกต่างกัน สรุป : แรงงานสูงอายุมีลักษณะที่แตกต่างจากแรงงานวัยอื่นๆ จึงควรมีการประเมินลักษณะงานที่เหมาะสมต่อแรงงานสูงอายุ รวมไปถึงจำเป็นต้องมีการปรับลักษณะงานให้เหมาะกับลักษณะแรงงานสูงอายุแต่ละคน เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะส่งผลดีต่อแรงงานสูงอายุและตลาดแรงงาน นอกจากนี้จำเป็นต้องมีนโยบายต่างๆ เพื่อรองรับแรงงานสูงอายุที่จะมีปริมาณมากขึ้นในอนาคต en_US
dc.description.abstractalternative Recent change in world population structure had resulted in the concomitant change in labor market structure. Since ageing workforce differ from those other age-groups in various aspects, more studies are then needed to acquiring information for promoting their effective and safe working conditions. Objectives: To review literature about (i) definition of older workers, (ii) general characteristics about older workers (iii) factors affecting work performance in older workers, (IV) recommendations and policies related to older workforce. Results: Nowadays, we have various definitions for older workers. Using chronological age or biological age to define workers as older workforce is still controversial. The older workforce has a tendency to get serious injuries compared to other age groups. Physiological changes in older workers might alter older workers’ job characteristics i.e. changing in the cardiovascular system, the respiratory system and the musculoskeletal system might affect working with high physical demand job and working in hot or cold environment job, changing in the cognitive function, visual ability, and the musculoskeletal system might affect driving skill, changing in hearing might affect ability of detection alarm sounds and also changing in circadian rhythm and hearing might affect sleeping after night shift etc. Moreover, underlying health conditions might also affect work ability in either direction. We found that factors that affecting work ability, job resource and retirement decision also play a role in labor force participation. Individually-specific job accommodations were needed for each individual older worker in helping them work more efficiently. Conclusion: Older workers differs from those from other age groups in various aspects including physiological change, health condition, work ability and preferred work conditions. This requires individually-specific work accommodations to promote their highest work efficiency. In addition, appropriate policies are required to support the future increase in the number of older workers in labor market. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher สำนักงานวารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย en_US
dc.relation.uri https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/250595
dc.rights สำนักงานวารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การจ้างงาน en_US
dc.subject ผู้สูงอายุ en_US
dc.subject วัยสูงอายุ en_US
dc.title การทำงานในแรงงานสูงอายุ en_US
dc.title.alternative Older workers in labor market en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Thai Journal Article [90]
    บทความวารสารภาษาไทยจากฐานข้อมูลออนไลน์ Free Open Access

Show simple item record