Abstract:
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองต่อปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้าง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ จำนวน 312 คน จากการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธี Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีพฤติกรรมการการตอบสนองในเรื่องการใส่หน้ากาก N95 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่มีการใส่หน้ากาก N95 มีการสวมใส่ทั้งวันร้อยละ 30.08% และกลุ่มที่ใส่บ้างไม่ใส่บ้าง 21.05% และกลุ่มที่ไม่ใส่เลย 47.08% โดยผู้ขับขี่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัยต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1,577.53 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือ 492,190 บาท /ปี จากการวัดระดับจำแนกตามสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ในด้านของระดับการศึกษา เงินเดือน และการมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจ โดยการตอบสนองและผลกระทบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ออกไปทำงานในวันที่ค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐาน เพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัย เพิ่มค่าใช้จ่ายการตรวจโรคทางเดินหายใจ ผลการศึกษาพบว่า ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัย และเงินเดือนมีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มค่าใช้จ่ายการตรวจโรคทางเดินหายใจ และผลการวัดการมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจ โดยวิเคราะห์ Chi-square พบว่า การมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคทางเดินหายใจมีความสัมพันธ์ต่อเพิ่มค่าใช้จ่ายการตรวจโรคทางเดินหายใจ และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซื้อหน้ากากอนามัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05