DSpace Repository

แนวทางการกับกับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan)

Show simple item record

dc.contributor.advisor พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ
dc.contributor.author ศศิธร แซ่อึ๊ง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-06-01T03:51:25Z
dc.date.available 2023-06-01T03:51:25Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82162
dc.description เอกัตศึกษา (ศศ.ม) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 en_US
dc.description.abstract สินเชื่อมีผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้มีอำนาจตามกฎหมายในการกำกับดูแลระบบการเงินและความมั่นคงของสถาบันการเงิน ในการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ตลาดการเงินดิจิทัลนั้น ได้สนับสนุนให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอย่างแพร่หลายตามแผนยุทธศาสตร์ธปท. ฉบับพ.ศ.2563-2565 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติให้ผู้ประกอบธุรกิจให้สินเชื่อสามารถปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan) พร้อมทั้งออกประกาศฉบับที่ ธปท.ฝกส.(01) ว.977/2563 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลไปยังสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้นและลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ อีกทั้งช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจให้แก่ผู้ให้ประกอบธุรกิจ การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นศึกษาการควบคุมความเสี่ยงในตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ 977/2563 จากการศึกษาพบว่าประกาศฉบับดังกล่าวมีการควบคุมความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลที่ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคทางการเงินที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เนื่องจากมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ที่มากเกินไปในส่วนของการประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อและเรื่องการกำหนดให้ใช้เฉพาะข้อมูลทางเลือก (Alternative Data) ดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคทางการเงินที่ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลได้รับความคุ้มครองมากขึ้น จึงควรมีการแก้ไขเนื้อหาของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ 977/2563 ในส่วนที่มีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อและการต้องใช้เฉพาะข้อมูลทางเลือก ให้มีการบริหารความเสี่ยงที่เข้มข้นขึ้นเพื่อมิให้ผู้บริโภคก่อหนี้เกินตัว โดยกำหนดให้การให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคบนพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงตามหลักการพิจารณาให้สินเชื่อที่คำนึงถึงสถานะทางการเงิน ภาระหนี้สิน หรือความสามารถในการชำระหนี้ของผู้บริโภคเป็นหลักร่วมกับการใช้ข้อมูลทางเลือก อีกทั้งควรเพิ่มแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินจากการถูกฉ้อโกงหรือหลอกลวงจากผู้ประกอบการสินเชื่อดิจิทัลนอกระบบด้วย en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2022.170
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject สินเชื่อ en_US
dc.subject การคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en_US
dc.title แนวทางการกับกับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan) en_US
dc.title.alternative REGULATIONS OF DIGITAL PERSONAL LOAN en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject.keyword สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล en_US
dc.subject.keyword การชำระหนี้ en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2022.170


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record