DSpace Repository

ผลของสารอะซีแมนแนนต่อการสร้างเนื้อฟันในหนู

Show simple item record

dc.contributor.advisor พสุธา ธัญญะกิจไพศาล
dc.contributor.author นวภรณ์ จิตตภิรมย์ศักดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2023-06-19T07:25:48Z
dc.date.available 2023-06-19T07:25:48Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82178
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract “สารอะซีแมนแนน” เป็นสารสกัดจากส่วนวุ้นว่านหางจระเข้ ที่มีผลทางชีวภาพที่ดีกับเซลล์ แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาผลของสารอะซีแมนแนนต่อการสร้างเนื้อฟันยังไม่มีการศึกษามาก่อน ในการศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของสารอะซีแมนแนนต่อการสร้างเนื้อฟันในระดับห้องปฏิบัติการและสัตว์ทดลอง นำเซลล์โพรงฟันมนุษย์ทดสอบด้วยสารอะซีแมนแนนด้วยวิธีเอ็มทีที อีไลซา วิธีทางชีวเคมี และการย้อมสีอะลิซาริน เรด เพื่อตรวจสอบความเป็นพิษ การสังเคราะห์ดีเอ็นเอระดับการหลั่งโปรตีนโบนมอร์โฟเจเนติก-2 การทำงานของเอ็นไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส และการตกตะกอนเกลือแร่ ตามลำดับ จากนั้นทดสอบผลต่อการสร้างเนื้อฟันซ่อมเสริมในฟันกรามหนูแรทที่โพรงฟันถูกทำให้ทะลุ เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 7 และ 28 วัน หนูจะถูกทำการุญฆาตและนำฟันมาศึกษาทางจุลพยาธิวิทยาและให้คะแนนเกี่ยวกับการตอบสนองของเนื้อเยื่อโพรงฟัน ได้แก่ การอักเสบ การสร้างเดนทินบริดจ์ และการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่ออ่อน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวสำหรับข้อมูลที่อยู่ในสเกลอัตราส่วน และทดสอบด้วยวิธีครัสคัล วาลิส เอส สำหรับข้อมูลที่อยู่ในสเกลอันดับผลการศึกษา พบสารอะซีแมนแนนกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์เมื่อทดสอบเป็นเวลา 24 ชั่วโมง กระตุ้นการหลั่งโปรตีนโบนมอร์-โฟเจเนติก-2 ที่ระยะเวลา 3 9 และ 12 วัน เพิ่มการทำงานของเอ็นไซม์อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส ที่ระยะเวลา 3 วัน และกระตุ้นการตกตะกอนเกลือแร่ที่ระยะเวลา 15 วัน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<0.05) จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า ที่ระยะเวลา 7 วัน กลุ่มอะซี-แมนแนน (5 ใน 7 ซี่ หรือร้อยละ 71.4) และกลุ่มหลอก (ฟูจิไลนิงแอลซี 4 ใน 6 ซี่ หรือร้อยละ 66.7) โดยมากพบการอักเสบเฉียบพลันอย่างอ่อน ในขณะที่กลุ่มควบคุม (ไดแคล) โดยมากพบการอักเสบระดับปานกลาง (4 ใน 8 ซี่ หรือร้อยละ 50) แต่อย่างไรก็ตาม การอักเสบของทั้ง 3 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กลุ่มอะซีแมนแนนพบเซลล์โพรงฟันในระยะกัมมันต์และพบเส้นใยคอลลาเจนในบริเวณเนื้อเยื่อโพรงฟันที่ทะลุสำหรับที่ระยะเวลา 28 วัน กลุ่มอะซีแมนแนนพบการสร้างเดนทินบริดจ์ปิดสมบูรณ์ชนิดเนื้อเยื่อแข็งที่มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน (5 ใน 8 ซี่ หรือร้อยละ 62.5) และการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่อโพรงฟันแบบปกติ (4 ใน 8 ซี่หรือร้อยละ 50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ไม่พบในกลุ่มควบคุม (0 ใน 8 ซี่) และกลุ่มหลอก (0 ใน 7 ซี่) (p<0.05) ในกลุ่มอะซีแมนแนน โดยมากไม่พบการอักเสบ (5 ใน 8 ซี่หรือร้อยละ 62.5) ส่วนกลุ่มควบคุมพบการอักเสบส่วนใหญ่แบบเรื้อรังความรุนแรงปานกลาง (5 ใน 8 ซี่ หรือร้อยละ 62.5) และกลุ่มหลอกพบการอักเสบส่วนใหญ่เป็นแบบเรื้อรังที่มีความรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก (4 ใน 7 ซี่ หรือร้อยละ 57.1) อย่างไรก็ตาม การอักเสบของทั้ง 3 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) จากผลการทดลองเสนอแนะว่า สารอะซีแมนแนนสามารถกระตุ้นการสร้างเนื้อฟัน โดยผ่านกลไกการเพิ่มจำนวนเซลล์ การเปลี่ยนสภาพเซลล์ การสร้างสารเมทริกซ์นอกเซลล์ และการตกตะกอนเกลือแร่ นอกจากนี้ สารอะซีแมนแนนสามารถเร่งการสร้างเนื้อฟันปิดแบบสมบูรณ์ และส่งเสริมการจัดเรียงตัวของเนื้อเยื่ออ่อนให้กลับสู่สภาพปกติ en_US
dc.description.abstractalternative “Acemannan”, Aloe vera gel polysaccharide, has been reported the cytocompatibility properties. However, the study about its inductive effect on dentin formation has not been investigated. Primary human dental pulp cells were used in this study. The cytotoxicity, level of BMP-2 expression, ALPase activity and mineralization nodule formation were determined by MTT, ELISA, biochemical assay and Alizarin red staining, respectively. After that, the rat first molars were intentionally exposed and applied with acemannan. After 7 and 28 days of experiment, these animals were sacrificed. The tooth were sectioned, examined by histopathological technique and scored their responses according to inflammation, dentin bridge formation and soft tissue organization. Data were statistically analyzed with either one-way analysis of variance for ratio scale data or Kruskall-Wallis S test for ordinal scale data. The results revealed that acemannan significantly increased cell proliferation for 24 hours of incubation and significantly stimulated the level of BMP-2 expression at day 3, 9 and 12 days as compared to control group (p<0.05). Acemannan also significantly enhanced ALPase activity at day 3 and increased nodule mineralization at day 15 as compared to control group (p<0.05). From animal study, at day 7, the mild chronic inflammation was mostly detected in both acemannan-treated group (5 of 7 teeth or 71.4%) and sham group (Fuji Lining LC, 4 of 6 teeth or 66.7%) while the moderate inflammation was mostly detected in control group (Dycal, 4 of 8 teeth or 50%). However, the inflammatory responses among these 3 groups are not statistically significance (p>0.05). In acemannan-treated group, the active dental pulp cells and collagen fibers were observed around the exposure area of pulp tissue. At day 28, the complete homogenous, hard dentin bridge formation (5 of 8 teeth or 62.5%) and normal pulp tissue organization (4 of 8 teeth or 50%) were significantly detected in acemannan-treated group, while neither control group (0 of 8 teeth) nor sham group (0 of 6 teeth) was detected (p<0.05). In acemannan-treated group, no or a few inflammatory cells were detected in the exposure area (5 of 8 teeth or 62.5%). While control group (5 of 8 teeth or 62.5%), moderate chronic inflammatory cell lesion was detected in the exposure area. The sham group contained mostly moderate and severe chronic inflammation (4 of 7 teeth or 57.1%). However, the inflammatory responses among these 3 groups are not statistically significance (p>0.05). Taken together, our data suggested acemannan induces dentin formation by stimulating cell proliferation, differentiation, extracellular matrix formation and mineralization. Acemannan has capacity to stimulate dentin bridge formation and soft tissue reorganization. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ผลของสารอะซีแมนแนนต่อการสร้างเนื้อฟันในหนู en_US
dc.title.alternative Effects of acemannan on dentin formation in rat en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline ทันตชีววัสดุศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record