Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัลของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียน 2) เพื่อสร้างเครื่องมือวัดการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาและประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผู้เรียนในยุคดิจิทัล 3) เพื่อวิเคราะห์สภาพของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน และ 4) เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมกระบวนการการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก การวิเคราะห์กระบวนการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัลของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยสัมภาษณ์เชิงลึกอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่สอง การสร้างเครื่องมือวัดการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาและประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผู้เรียนในยุคดิจิทัล วิเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทั้งด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยง และความตรงเชิงโครงสร้าง ระยะที่สาม การวิเคราะห์สภาพของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนที่เป็นนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก จำนวน 180 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) การวิเคราะห์กลุ่มแฝง และ t-test และระยะที่สี่ การสร้างกลยุทธ์ในการส่งเสริมการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคดิจิทัล โดยสัมภาษณ์นิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นรายคู่ จำนวน 7 คู่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และนำกลยุทธ์ที่ได้ไปตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้กับผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. การให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัล เป็นการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาช่วยสนับสนุนในกระบวนการการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์เท่านั้น อาจารย์ที่ปรึกษาใช้วิธีการให้คำปรึกษาแบบผสมวิธีทั้งแบบตัวต่อตัวและกลุ่มนิสิตนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษานำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ตามขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ผู้เรียน 2) การดำเนินการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ตามบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ประกอบด้วย การบริหารจัดการ การให้ความรู้ การให้ข้อมูลป้อนกลับ และการสนับสนุนทางด้านจิตใจ และ 3) การปรับวิธีการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน
2. เครื่องมือวัดการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนิสิต และประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผู้เรียนในยุคดิจิทัล มีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่าที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพทั้งด้านความตรงเชิงเนื้อหา (ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.75 - 1.00) ด้านความเที่ยง (Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.893 และ 0.892) และประสิทธิผลของการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของผู้เรียน (Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.951) ด้านความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลการวัดการใช้เทคโนโลยีในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนิสิตนักศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (gif.latex?\chi&space;^{2} (2, N=180) = 1.955, p=.376, TLI = 1.000, SRMR = 0.005, RMSEA = 0.000) และโมเดลการวัดการใช้เทคโนโลยีในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนิสิตนักศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (gif.latex?\chi&space;^{2} (2, N=180)= 10.370, p = .0056, TLI = 0.980, SRMR = 0.006, RMSEA = 0.152)
3. นิสิตนักศึกษามีระดับการใช้เทคโนโลยีในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์อยู่ในระดับน้อย คือ ด้านการให้ความรู้ (M = 0.725, SD = 0.494) การให้ข้อมูลป้อนกลับ (M = 0.708, SD = 0.463) และการบริหารจัดการ (M = 0.694, SD = 0.443) ในทำนองเดียวกันอาจารย์ที่ปรึกษามีระดับการใช้เทคโนโลยีในการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์อยู่ในระดับน้อย คือ ด้านการให้ข้อมูลป้อนกลับ (M = 0.642, SD = 0.474) การให้ความรู้ (M = 0.639, SD = 0.487) และการบริหารจัดการ (M = 0.591, SD = 0.428) แต่การใช้เทคโนโลยีในด้านการสนับสนุนด้านจิตใจมีระดับการใช้น้อยที่สุดทั้งนิสิตนักศึกษา (M = 0.581, SD = 0.437) และอาจารย์ที่ปรึกษา (M = 0.541, SD = 0.454) ส่วนการจัดกลุ่มแฝงนิสิตนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตามการใช้เทคโนโลยีในการให้คำปรึกษา สามารถจัดกลุ่มแฝงทั้งนิสิตนักศึกษาและกลุ่มแฝงของอาจารย์ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนิสิตนักศึกษาได้ 3 กลุ่มแฝง ได้แก่ กลุ่มแฝงที่ 1 คือ กลุ่มแฝงที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเอกสารผ่านระบบออนไลน์ กลุ่มแฝงที่ 2 คือ กลุ่มแฝงที่ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายสังคมออนไลน์ และกลุ่มแฝงที่ 3 คือ กลุ่มแฝงที่ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานในชีวิตประจำวัน อีกทั้ง นิสิตนักศึกษาใช้เทคโนโลยีประเภทเดียวกันตั้งแต่ 3 ประเภทขึ้นไปร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาส่งผลให้นิสิตมีการรับรู้ความสามารถของตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.921, df = 178.00, p = .004) และแรงจูงใจในการทำวิทยานิพนธ์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.556, df = 165.278, p = .000)
4. กลยุทธ์ในการส่งเสริมกระบวนการการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัลของอาจารย์ที่ปรึกษา มีดังนี้ 1) การส่งเสริมให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์สามารถนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการให้คำปรึกษาโดยจัดทำคู่มือเคล็ดลับการใช้เทคโนโลยีในการให้คำปรึกษา 2) อาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือความเชื่อที่มีต่อกระบวนการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ในยุคดิจิทัลโดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 3) ควรมีระบบประกันคุณภาพการให้คำปรึกษา