dc.contributor.advisor |
ณัฐสุดา เต้พันธ์ |
|
dc.contributor.author |
พูลทรัพย์ อารีกิจ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T04:33:40Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T04:33:40Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82261 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาเชิงปริมาณก่อน และดำเนินการศึกษาเชิงคุณภาพในภายหลัง สำหรับการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวมรวม และวิเคราะห์ข้อมูล ตามระเบียบวิธีวิจัยแบบการทดลองกลุ่มเล็ก (Single-case Experimental Design) และในการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฎการณ์วิทยาแบบตีความ (Interpretative Phenomenological Analysis) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัดจำนวน 8 คนที่ผ่านการเข้าร่วมกระบวนการนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วยพรหมวิหาร 4 เพิ่มเติมจากการเข้ารับการนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยาตามหลักสูตร และจากสถานฝึกประสบการณ์วิขาชีพ ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วยพรหมวิหาร 4 ส่งอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของการรับรู้ความสามารถในตนเองของนักจิตวิทยาการปรึกษา และต่อการลดลงของการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง อย่างไรก็ตามผลการศึกษาในเชิงปริมาณพบอิทธิพลของกระบวนการนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วยพรหมวิหาร 4 ในกลุ่มตัวอย่างบางรายเท่านั้น สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลสามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นหลักที่ 1 ช่วงระหว่างรับการนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ประกอบด้วย ประสบการณ์ระหว่างรับการนิเทศ และมุมมองต่อตนเองที่เกิดขึ้นจากการนิเทศประเด็นหลักที่ 2 การสังเกตและการตระหนักรู้ในตนเอง ประกอบด้วย การสังเกตและการตระหนักรู้ในภายใน และการสังเกตและการตระหนักรู้จากตัวแบบ ประเด็นหลักที่ 3 ความเข้าใจจากการสังเกต การตระหนักรู้ และการอยู่ในภาวะเดิมด้วยใจที่ใหม่ ประกอบด้วย ความเข้าใจจากการสังเกต และการตระหนักรู้ และการอยู่ในภาวะเดิมด้วยใจที่ใหม่ |
|
dc.description.abstractalternative |
This mixed methods study aimed at examining the effectiveness of incorporating Brahmavihara 4 into the clinical supervision process: how it created an impact on counselor trainees’ self-efficacy, self-criticism, and PANNA. A Single-case Experimental Design method was employed in the quantitative study, while Interpretative Phenomenological Analysis (IPA) method was employed in the qualitative study. Participants were 8 counselor trainees who participated in clinical supervision with Brahmavihara 4. Results indicated that the Brahmavihara 4 clinical supervision significantly increased the participants’ self-efficacy and significantly decreased their level of self-criticism. However, some of the participants did not benefit from the supervision program in the quantitative study. For the qualitative study, data analysis resulted in 3 themes: (1) during the clinical supervision, including supervision experience and self-perception gained from the program, (2) self-observation and self-awareness including the internal observation and awareness and the observation and awareness learned from the model, (3) understandings gained from the observation and awareness and living with new feelings. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.753 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Psychology |
|
dc.subject.classification |
Human health and social work activities |
|
dc.title |
การนิเทศการปรึกษาเชิงจิตวิทยาด้วยพรหมวิหาร 4 ในนักจิตวิทยาการปรึกษาฝึกหัด : การวิจัยแบบผสานวิธี |
|
dc.title.alternative |
Clinical supervison with brahmavihara 4 in trainee counselors: a mixed methods study |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
จิตวิทยา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2018.753 |
|