DSpace Repository

ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ต่อความเหงา ความสามารถในการกำกับอารมณ์ และการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเอง ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
dc.contributor.author ณัฐพร ตรีเจริญวิวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2023-08-04T04:33:42Z
dc.date.available 2023-08-04T04:33:42Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82268
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ต่อความเหงา ความสามารถในการกำกับอารมณ์และการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเองในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความสมัครใจเข้าร่วมการวิจัยและมีระดับความเหงาสูงกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 จำนวน 39 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 19 คน กลุ่มควบคุม 20 คน โดยกลุ่มทดลองจะเข้าร่วมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง ทั้งหมด 8 ครั้ง คิดเป็นเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างทุกคนจะได้ตอบแบบสอบถามที่ประกอบไปด้วยมาตรวัดความเหงา มาตรวัดความสามารถในการกำกับอารมณ์ และมาตรวัดการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเอง ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures MANOVA) และความแปรปรวนพหุนามแบบระหว่างกลุ่ม (Between Groups MANOVA) โดยมีผลวิจัยดังนี้ 1. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความเหงาต่ำกว่าก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความเหงาต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ และในระยะติดตามผล ไม่พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความสามารถในการกำกับอารมณ์แตกต่างกับก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ไม่พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความสามารถในการกำกับอารมณ์แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเองสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 6. หลังการเข้ากลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ไม่พบว่ากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเองแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.description.abstractalternative This quasi-experimental research study was aimed to examine the effects of online Cognitive Behavioral Group Therapy (CBGT) on loneliness, emotion regulation, and social self-efficacy in undergraduate students. Participants were 39 students who obtained loneliness score higher than the 50th percentile and volunteered to participate in this study. They were assigned into an experimental group (i.e., 19 participants) and a control group (i.e., 20 participants). Those in the experimental group participated in a twice weekly 2-hour CBGT for 8 weeks, amounting to a total of 16 hours in group participation. Measures of loneliness, emotion regulation and social self-efficacy were administered at pre- and post-study participation and follow-up periods. Data obtained were analyzed using repeated-measure and between-group MANOVAs. Findings were as follows: 1. The posttest and follow-up levels of loneliness of the experimental group were significantly lower than the pretest level. 2. The posttest and follow-up levels of loneliness of the experimental group were significantly lower than the levels of the control group. 3. The posttest and follow-up levels of emotion regulation of the experimental group were not significantly different from the pretest level. 4. The posttest and follow-up levels of emotion regulation of the experimental group were not significantly different from the levels of the control group. 5. The posttest and follow-up levels of social self-efficacy of the experimental group were significantly higher than the pretest level. 6. The posttest and follow-up levels of social self-efficacy of the experimental group were not significantly different from the levels of the control group.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.544
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Psychology
dc.subject.classification Human health and social work activities
dc.subject.classification Psychology
dc.title ผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวปัญญาพฤติกรรมนิยมแบบออนไลน์ ต่อความเหงา ความสามารถในการกำกับอารมณ์ และการรับรู้ความสามารถในการเข้าสังคมของตนเอง ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
dc.title.alternative The effects of online cognitive behavioral group therapy on loneliness, emotion regulation, and social self-efficacy in undergraduates
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.544


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record