Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายความตั้งใจในการออกกำลังกาย โดยเสนอโมเดลที่ประกอบด้วยตัวแปรจากทฤษฎีการกำหนดด้วยตนเองและการรับรู้การตีตราน้ำหนัก โดยผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นผู้ใหญ่วัยกลางคน มีอายุระหว่าง 30- 64 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 636 คน และตอบแบบสอบถามออนไลน์ ทำการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์ที่ทดสอบตัวแปรส่งผ่านหลายตัวแปร(path analysis) โดยแบ่งเป็น 3โมเดลกลุ่มน้ำหนักได้แก่ กลุ่มน้ำหนักปกติ(BMI=18-22.9 กก./ม2,N=253)กลุ่มน้ำหนักเกิน(BMI=23-29.9 กก./ม2,N=206)และกลุ่มอ้วน (BMI≥30 กก./ม2,N=177)ผลการวิจัยพบว่า 1)โมเดลเชิงสาเหตุของความตั้งใจในการออกกำลังกายทั้ง 3 โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์(กลุ่มน้ำหนักปกติ;Χ2=11.124,df=6,p=0.085,CFI=0.990,RMSEA =0.058,SRMR=0.029,กลุ่มน้ำหนักเกิน;Χ2=11.065, df=6,p=0.086,CFI=0.990,RMSEA=0.064,SRMR=0.029, กลุ่มอ้วน;Χ2=8.351,df=6,p=0.214,CFI=0.992,RMSEA=0.047,SRMR=0.032) 2)การรับรู้การตีตราน้ำหนักส่งอิทธิพลเชิงลบต่อแรงจูงใจที่มีอิสระในการออกกำลังกายในทุกกลุ่มน้ำหนัก3)แรงจูงใจที่มีอิสระส่งอิทธิ พลเชิงบวกต่อความตั้งใจในการออกกำลังกายในทุกกลุ่มน้ำหนัก4)ความต้องการมีความสามารถเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการรับรู้การสนับสนุนความมีอิสระและความตั้งใจในการออกกำลังกายในทุกกลุ่มน้ำหนัก5)ความต้องการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นและความต้องการมีความสามารถส่งอิทธิพลเชิงบวกต่อแรงจูงใจที่มีอิสระในกลุ่มน้ำหนักเกิน6)ความต้องการเป็นอิสระในตนเองส่งอิทธิพลเชิงบวกต่อแรงจูงใจที่มีอิสระในกลุ่มน้ำหนักปกติและกลุ่มอ้วน 7) โมเดลเชิงสาเหตุของของความตั้งใจในการออกกำลังกายของกลุ่มน้ำหนักปกติ กลุ่มน้ำหนักเกินและกลุ่มอ้วน สามารถอธิบายความตั้งใจในการออกกำลังกายได้ ร้อยละ 47 50 และ 41 ตามลำดับ ผลการวิจัยสามารถนำไปปรับใช้ในการสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกาย โดยการสนับสนุนความมีอิสระในการออกกำลังกาย ลดการรับรู้การตีตราน้ำหนักของบุคคล และควรประเมินความต้องการเป็นอิสระในตนเอง ความต้องการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น และความต้องการมีความสามารถในการออกกำลังกายของผู้เข้าร่วมโปรแกรมออกกำลังกาย