DSpace Repository

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้หญิง

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรรณระพี สุทธิวรรณ
dc.contributor.advisor สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
dc.contributor.author ตะวันนา โกเมนธรรมโสภณ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2023-08-04T04:33:44Z
dc.date.available 2023-08-04T04:33:44Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82276
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้หญิงแต่งงานแล้ว ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้หญิง จำนวน 160 คน ที่มีอายุ 40–60 ปี มีสถานะแต่งงานแล้วหรือมีการใช้ชีวิตร่วมกันฉันท์สามีภรรยาเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ซึ่งประเมินการมีลูก รูปแบบความผูกพันแบบวิตกกังวล รูปแบบความผูกพันแบบหลีกหนี บทบาททางเพศ ความใกล้ชิดทางอารมณ์  ระยะเวลาในการใช้ชีวิตสมรส ประเภทของครอบครัว การรับรู้การตอบสนองของคู่สัมพันธ์ และความพึงพอใจในชีวิตสมรส จากผลการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า ร้อยละ 39.10 (R2 = 0.391) ของความพึงพอใจในชีวิตสมรสสามารถอธิบายได้ด้วย การรับรู้การตอบสนองของคู่สัมพันธ์ (B = 2.179) และรูปแบบความผูกพันแบบหลีกหนี (B = -1.095) จากการศึกษา สามารถอธิบายได้ว่า ความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้หญิงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ของผู้หญิงที่มีต่อการตอบสนองของคู่สัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับรูปแบบความผูกพันแบบหลีกหนีของผู้หญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study the selected factors related to marital satisfaction of married women.  The participants were 160 women aged 40-60 years, with marriage or cohabitate status for 3 years or more.  Data were collected via online questionnaires assessing motherhood, anxious attachment, avoidant attachment, sex role identity, emotional intimacy, length of marriage, type of family, partner responsiveness, and marital satisfaction. Result of multiple regression revealed that 39.10 percent (R2 = 0.391) of the marital satisfaction can be explained by partner responsiveness (B = 2.179) and avoidant attachment (B = -1.095) at p <.001. The study demonstrated that women’s marital satisfaction was significantly and positively affected by her perception of partner responsiveness, and negatively affected by her avoidant attachment dimension.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.547
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Psychology
dc.subject.classification Human health and social work activities
dc.title ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความพึงพอใจในชีวิตสมรสของผู้หญิง
dc.title.alternative Selected factors related to women's marital satisfaction
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.547


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record