DSpace Repository

มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการดำเนินกิจการ ของธนาคารพาณิชย์กับแนวคิดบรรษัทภิบาล

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิชัยศักดิ์ หรยางกูร
dc.contributor.author กอบเกียรติ ผดุงกิตติมาลย์, 2520-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-07-17T09:31:09Z
dc.date.available 2006-07-17T09:31:09Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741718322
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/822
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en
dc.description.abstract ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ถือเป็นสถาบันการเงิน ที่มีบทบาทสำคัญที่สุด ในฐานะตัวกลางทางการเงินธนาคารพาณิชย์ มีหน้าที่จัดสรรทรัพยากรทางการเงินผ่านทางธุรกรรมต่างๆ ของธนาคารพาณิชย์ นอกจากนั้นธนาคารพาณิชย์ยังมีบทบาทในการเป็นเครื่องมือของภาครัฐ ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคด้วย บรรษัทภิบาลจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามด้วยโครงสร้างเงินทุนของธนาคารพาณิชย์ ที่ทุนในการดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากการรับฝากเงินจากประชาชน ในขณะที่อำนาจในการบริหารเป็นของผู้ถือหุ้น จึงทำให้เกิดโครงสร้างบรรษัทภิบาล ที่มีความแตกต่างจากกิจการประเภทอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจ ทั้งโครงสร้างดังกล่าวยังเอื้อต่อการใช้อำนาจ ในการบริหารในทางที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งที่จะศึกษาบทบาทของมาตรการทางกฎหมาย เกี่ยวกับการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ กับการสร้างประสิทธิภาพให้กับกลไกบรรษัทภิบาล โดยศึกษาผลกระทบจากมาตรการต่างๆ ของพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ภายใต้กรอบความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลัก 3 ฝ่าย คือ (1) กิจการธนาคารพาณิชย์ (2) ผู้ฝากเงินและ (3) ผู้กำกับดูแล จากการศึกษาผู้เขียนพบว่ามาตรการทางกฎหมายต่างๆ นั้น มีบทบาททั้งในการสร้างประสิทธิภาพให้กับ บรรษัทภิบาลของธนาคารพาณิชย์ และในขณะดียวกันบางมาตรการก็ได้สร้างอุปสรรค ให้กับผู้เกี่ยวข้องกับกิจการธนาคารพาณิชย์ด้วย ผู้เขียนจึงได้ศึกษาถึง แนวทางในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายดังกล่าว โดยศึกษาการเปลี่ยนทั้งจากปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกประเทศ จากการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนามาตรการทางกฎหมาย ผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิดที่จะกระตุ้นให้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ทั้งหลาย เข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแลกิจการ รวมทั้งต้องมีการพัฒนากระบวนการเปิดเผยข้อมูล ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และได้นำเสนอแนวคิดการสร้างความชัดเจน ในการใช้อำนาจแทรกแซงกิจการธนาคารพาณิชย์ เพื่อขจัดปัญหาที่จะนำไปสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจในอนาคต en
dc.description.abstractalternative Of all the financial institutions in the current economic system, commercial banks conduct the most influential role not only as a mediator in earmarking financial resources through their transactions but also as a vital instrument of the government in implementing macroeconomic policy. Consequently, commercial banks are able to increase their efficiency by applying the corporate good governance. Unlike other enterprises, the commercial banks have a unique capital structure in which people, through their deposits, provide most of the capital while the stockholders employ the administration power. This unique capital structure not only causes a particular good corporate governance practicing by the commercial banks to be deviant from that of other enterprises but also facilitates an abuse of administration power which results in damage to all concerned. This thesis focuses on studying the role of legal measures on supervising banking system and strengthening the corporate good governance mechanism. Impacts of various measures specified in "The Commercial Banks Act 1962 and the Amendments" were studied in association with following concerned parties: (1) commercial banks; (2) depositors; and (3) regulators. In studying these legal measures, I discovered that some of them help increase the efficiency of the commercial banks while others obstruct their growth. I therefore study how to develop those legal measures by applying both internal and external factors. From the studied factors involving the development of legal measures, I propose a concept, which includes the following: 1) the participation in banking supervision from all concerned; 2) the development of process in disclosing the information in line with the current changes; and 3) the factors that lead to the government's decision in intervening transactions of commercial banks to prevent the country from potential economic crisis. en
dc.format.extent 1246314 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ธนาคารพาณิชย์ en
dc.subject กฎหมายธนาคาร en
dc.subject บรรษัทภิบาล en
dc.title มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลการดำเนินกิจการ ของธนาคารพาณิชย์กับแนวคิดบรรษัทภิบาล en
dc.title.alternative Legal measures on banking supervision and corporate governance en
dc.type Thesis en
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Phijaisakdi.H@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record