DSpace Repository

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ระพิณ ผลสุข
dc.contributor.author รัชฎาพร บุญสนอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-08-04T05:27:04Z
dc.date.available 2023-08-04T05:27:04Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82300
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยายเพื่อศึกษาปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จำนวน 195 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากผู้ป่วยที่มารับบริการ ณ แผนกผู้ป่วยนอกระบบหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลตำรวจ และโรงพยาบาลศิริราช เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 7 ส่วน คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคหัวใจขาดเลือด 3) แบบสอบถามการรับรู้การเจ็บป่วย 4) แบบสอบถามแรงจูงใจ 5) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 6) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และ 7) แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.94, 1.0, 1.0, 0.97, 1.0 และ 0.95 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .76, .80, .73, .91, .96 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค ความรู้ แรงจูงใจ การสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอยู่ในระดับสูง (Mean = 100.98 SD = 12.39, Mean = 16.48 SD = 2.16, Mean = 76.03 SD = 8.63, Mean = 67.43 SD = 9.09 และ Mean = 25.73 SD = 3.79 ตามลำดับ) และมีคะแนนการรับรู้การเจ็บป่วยระดับปานกลาง (Mean = 49.81 SD = 9.54) 2. แรงจูงใจ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .330 และ .324 ตามลำดับ) และการรับรู้การเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับต่ำกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .178) ส่วนความรู้ และการสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 
dc.description.abstractalternative The objective of this descriptive correlation research was to identify selected factors related to dietary behaviors among persons with acute coronary syndrome. A multi-stage sampling of 195 persons with acute coronary syndrome were recruited from Cardiovascular outpatient department in Chulalongkorn Memorial Hospital, Police General Hospital, and Siriraj Hospital. Data were collected using seven questionnaires for persons with acute coronary syndrome: 1) Demographic data form 2) Dietary behaviors 3) Knowledge of cardiac disease 4) The Brief Illness Perception Questionnaire 5) Motivation for Healthy Eating Scale 6) Social support and 7) Self-efficiency. All questionnaires were tested for their content validity by five experts. The CVI were 0.94, 1.0, 1.0, 0.97, 1.0 and 0.95, respectively. Reliability were .76, .80, .73, .91, .96 and .87, respectively. Data were analyzed using Pearson’s product correlation coefficient statistics. The findings were presented as follow: 1. Mean score of dietary behaviors knowledge, motivation, social support and self-efficiency among persons with acute coronary syndrome were at high level (Mean = 100.98 SD = 12.39, Mean = 16.48 SD = 2.16, Mean = 76.03 SD = 8.63, Mean = 67.43 SD = 9.09 and Mean = 25.73 SD = 3.79, respectively), mean score of illness perception was at moderate level (Mean = 49.81 SD = 9.54) 2. Motivation and self-efficiency were significantly positively correlated at moderate level with dietary behaviors among persons with acute coronary syndrome at the .05 (r = .330 and .324, respectively). Illness perception was significantly positively correlated at low level with dietary behaviors among persons with acute coronary syndrome at the .05 (r = .178). Knowledge and social support were not significantly with dietary behaviors among persons with acute coronary syndrome. 
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.476
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยกลุ่มอาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
dc.title.alternative Selected factors related to dietary behaviors among person with acute coronary syndrome
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2022.476


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record