dc.contributor.advisor |
อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ |
|
dc.contributor.author |
พหลยุทธ กนิษฐบุตร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-08-04T05:50:38Z |
|
dc.date.available |
2023-08-04T05:50:38Z |
|
dc.date.issued |
2565 |
|
dc.identifier.uri |
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82333 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์เรื่อง แนวคิดการเขียนหน้าและการแต่งหน้าในนาฏกรรมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การมีส่วนร่วม ผลวิจัยพบว่า หน้ามีความสำคัญในการแสดงอัตลักษณ์ของมนุษย์ดังปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนทั่วโลก มนุษย์นิยมแต่งหน้าเพื่อความงดงามของตนและการแต่งหน้าเพื่อสร้างบุคลิกของตัวละคร ส่วนการเขียนหน้าเสริมจากการแต่งหน้าในนาฏกรรมก็เพื่อเน้นบุคลิกตัวละครตามจารีตนาฏยศิลป์ ได้แก่ กถักฬิของอินเดีย อุปรากรจีน คาบูกิของญี่ปุ่น และวายังวองของอินโดนีเซีย กับการแต่งหน้าและเขียนหน้าในนาฏกรรมไทยอันได้แก่ พระ นาง ยักษ์ และอมนุษย์ต่าง ๆ นั้น การวิจัยพบว่าแนวคิดนี้เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกผู้แสดงที่มีรูปหน้ามีสัดส่วนใกล้เคียงกับใบหน้าของตัวละคร จากนั้นก็แต่งหน้าเพื่อเพิ่มและลดส่วนต่าง ๆ ทั้ง 7 ส่วนของใบหน้าตามหลักสากลให้ได้ใกล้เคียงกับเค้าหน้าของตัวละครให้มากที่สุด โดยทำการรองพื้นผิวหน้าด้วยครีมและแป้งฝุ่นสีต่าง ๆ เพื่อแรเงาปรับส่วนนูนและส่วนลึกของใบหน้าจนได้เค้าหน้าที่ต้องการเมื่อพิจารณาจากแสงไฟในมุมต่าง ๆ และขั้นสุดท้ายคือการบรรจงวาดเส้นลายกระหนกสีเข้มเพื่อเน้นส่วนต่างๆของใบหน้า อาทิ คิ้ว ตา ปาก คาง จอนหู และเพิ่มสัญลักษณ์เช่นอุณาโลมที่หว่างคิ้วเพื่อแสดงความเป็นเทพ กระบวนการเลือกรูปทรงของใบหน้า การแต่งเพื่อปรับรูปหน้าและการวาดเส้นบนส่วนต่างๆของหน้า ยังต้องสัมพันธ์กับรูปทรงสีสันของศิราภรณ์และพัสตราภรณ์ของตัวละครนั้นๆอีกด้วยจึงจะทำให้การแต่งหน้าและการเขียนหน้าในนาฏกรรมไทยสำหรับตัวละครนั้นๆมีผลสมบูรณ์ทุกประการ ผลการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการวิจัยแนวทางสร้างเสริมความงามในนาฏกรรมไทยในมิติอื่นๆทางศิลปกรรมไทยต่อไปอย่างกว้างขวาง |
|
dc.description.abstractalternative |
The thesis on Concept of Face Painting and Makeup in Thai Performance Arts is a qualitative research based upon documents, interviews, observations and participation. The research finds that face is important for human identity such as on ID cards worldwide. Humans wear makeup for their beauty and to create a character in the play. Facial line drawing high lights the characters' personalities according to traditional dances, such as Indian kathakali, Chinese opera, Japanese kabuki and Indonesian Wayang Wong and also in Thai traditional performance such as male, female, demon and other non-human beings. The method starts with casting an actor whose face is similar to the characters' faces. Then put on make up to increase and reduce all 7 different parts of the face according to international standards by making a foundation on the face with different colors of cream and powder to create shade and shadow and adjust the bulge and depth of the face considering the light from different angles. And the final step is to draw lines to highlight eyebrows, eyes, lips, chin, sideburns, and symbols such as Unalom between the eyebrows to signify divinity. The process of choosing the face of the performer to match the facial identity of the character’s then rendering with the makeup adjustment and high light with facial line drawing is related to the shape, color of the costume of that character, so the make-up and facial line drawing based on Thai traditional line drawings will effectively create the dramatic character. The results of this research will be a guideline for further research on ways to promote beauty in Thai performing arts in other dimensions of Thai art widely. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.600 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.subject.classification |
Arts, entertainment and recreation |
|
dc.title |
แนวคิดการเขียนหน้าและการแต่งหน้าในนาฏกรรมไทย |
|
dc.title.alternative |
Concept of face painting and makeup in Thai performance |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
นาฏยศิลป์ไทย |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2022.600 |
|