Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่องการรําปะเรเรของชาวญัฮกุร จังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา รูปแบบ และองค์ประกอบการแสดง ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า การรําปะเรเรของชาวญัฮกุร จังหวัดชัยภูมิ แต่เดิมเป็นการรวมตัวของชาวบ้านร้องรําทําเพลงในยามว่างหลังการทํางาน จนมีการพัฒนามาเป็นการแสดง จากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรม ทําให้ชาวญัฮกุรมีการจัดการแสดง ในปี พ.ศ. 2566 ได้นําการแสดงพื้นเมืองญัฮกุรผสมการแสดงพื้นเมืองอีสาน และท่าเลียนแบบของมนุษย์และสัตว์ โดยแบ่งรูปแบบการแสดงออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การแสดงบนเวที และการแสดงในขบวนแห่ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และการละเล่น มีองค์ประกอบของการแสดง คือ ผู้แสดงอายุระหว่าง 10 - 60 ปี นิยมแสดงเป็นคู่ แต่งกายโดยใช้เสื้อพ็อก ผ้าถุงสีแดง สร้อยลูกเดือยและดอกไม้ติดผม มีการร้องเพลง ตีโทนประกอบ และการเปิดไฟล์ดนตรีพื้นบ้านอีสานกับการตีโทน ระยะเวลาการแสดงบนเวที 5 - 6 นาที ส่วนในขบวน 40 - 60 นาที แสดงในงานส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีแห่หอดอกผึ้ง โดยจะแสดงบนเวที ลานกว้างหรือเส้นทางในหมู่บ้าน โดยใช้หอดอกผึ้งจําลองหรืออุปกรณ์ตกแต่งรถแห่ในขบวนเป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก มีท่ารำ 13 ท่า เริ่มรำท่าที่ 1 จนครบห้องเพลง แล้วเริ่มชุดท่ารําใหม่ตามลําดับจนจบการแสดงแถว 5 รูปแบบ ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาด้านนาฏยศิลป์ไทยเป็นการอนุรักษ์ และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป